หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 10,242

[16.4258401, 99.2157273, หญ้าฝรั่น]

หญ้าฝรั่น (ออกเสียงว่า ฝะ-หรั่น) ชื่อสามัญ Saffron, True saffron, Spanish saffron, Crocus

หญ้าฝรั่น ชื่อวิทยาศาสตร์ Crocus sativus L. จัดอยู่ในวงศ์ว่านแม่ยับ (IRIDACEAE) และยังไม่มีชื่อท้องถิ่นหรือชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ เนื่องจากเป็นพืชสมุนไพรของต่างประเทศ โดยประเทศที่ปลูกหญ้าฝรั่นเพื่อส่งออกได้แก่ ประเทศสเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส อินเดีย และอิหร่าน[1],[3],[4],[8] โดยอิหร่านเป็นประเทศที่สามารถผลิตหญ้าฝรั่นที่มีคุณภาพและมีปริมาณการผลิตมากที่สุดในโลก โดยคิดเป็นร้อยละ 81 ของหญ้าฝรั่นทั่วโลก

Saffron คืออะไร ? Saffron หรือหญ้าฝรั่นคือเครื่องเทศสมุนไพรจากต่างประเทศที่มีราคาแพงมากที่สุดในโลก เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้มาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณ โดยแหล่งผลิตหญ้าฝรั่นที่มีคุณภาพสูงคือประเทศอิหร่าน

ลักษณะของหญ้าฝรั่น

  • ต้นหญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น
  • หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา 
  • ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร
  • ดอกหญ้าฝรั่น ก้านดอกจะแทงออกมาจากหัวใต้ดิน ลักษณะของดอกมีรูปร่างคล้ายดอกบัว ดอกมีสีม่วง มีกลีบดอก 5-6 กลีบ กลีบดอกลักษณะเรียวยาวคล้ายรูปไข่ มีเกสรขนาดยาวโผล่พ้นเหนือดอก เกสรตัวเมียมีสีแดงเข้ม ดอกอยู่ได้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์ มักออกดอกในช่วงฤดูใบไม้ร่วง[1],[4],[8] 
  • เกสรหญ้าฝรั่น หรือที่เรียกว่า หญ้าฝรั่น คือยอดเกสรเพศเมียสีแดงสดยื่นยาวออกมาโผล่พ้นเหนือดอก มีลักษณะเป็นง่าม 3 ง่าม แต่ละง่ามมีความประมาณ 25-30 มิลลิเมตร มักเก็บดอกเมื่อตอนดอกเริ่มบาน ส่วนที่เก็บคือเกสรตัวเมีย โดย 1 ดอกจะมีเกสรอยู่เพียง 3 เส้นเท่านั้น ส่วนวิธีการเก็บก็คือเด็ดออกจากดอกแล้วเอามาทำให้แห้งด้วยการคั่ว นอกจากนี้การเก็บเกสรต้องรีบเก็บในวันเดียวเพราะว่าดอกจะโรยหมด แล้วยังต้องรีบนำมาคั่วให้แห้งในทันที ส่วนการเก็บก็ต้องใช้แต่แรงงานคนเท่านั้นประกอบกับว่าพืชชนิดนี้มักขึ้นในที่ลาดเขาซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก โดยดอกหญ้าฝรั่นประมาณ 100,000 ดอก จะให้เกสรตัวเมียที่แห้งแล้วประมาณ 1 กิโลกรัม หรือที่เราเรียกว่า "หญ้าฝรั่น" นั่นเอง ซึ่งมีราคาแพงมาก ๆ และมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน

สรรพคุณของหญ้าฝรั่น

  1. ใช้เป็นยาบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็ง และต่อต้านสารก่อกลายพันธุ์
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  3. ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
  4. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
  5. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  6. การรับประทานหญ้าฝรั่นทุกวันจะช่วยถนอมสายตาไม่ให้มืดมนเมื่ออายุมาก ถนอมเซลล์อันซับซ้อนในดวงตาให้สามารถใช้งานนานและทนทานกับโรคได้ดี ป้องกันเซลล์ไม่ให้ตายเพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้มแข็งอยู่ ช่วยป้องกันดวงตาจากแสงแดด และช่วยขัดขวางไม่ให้เป็นโรคจอตาเสื่อม มีสารสีขึ้นหรือโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ (ศาสตราจารย์ซิลเวีย พิสติ มหาวิทยาลัยอกิลาในอิตาลี)[6]นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดที่จอตานอกเหนือจากจุดรับภาพเสื่อม และช่วยป้องกันโรคตาบอดกลางคืนได้
  7. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
  8. ในประเทศเยอรมนีมีการใช้หญ้าฝรั่นเพื่อเป็นยาคลายกล้ามเนื้อประสาท ช่วยผ่อนคลายความเครียดของระบบประสาท
  9. ยอดเกสรและกลีบดอกหญ้าฝรั่นช่วยรักษาภาวะซึมเศร้าได้ (หญ้าฝรั่น, กลีบดอก)
  10. ใช้เป็นยาชูกำลัง
  11. ช่วยบำรุงหัวใจ (ต้น)
  12. ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  13. ช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในพลาสม่า
  14. ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด (ในเยอรมัน)
  15. ช่วยแก้อาการสวิงสวายหรืออาการรู้สึกใจหวิว มีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่ามัว คล้ายจะเป็นลม
  16. ช่วยแก้ซางในเด็ก
  17. ใช้เป็นยาขับเหงื่อ
  18. ดอกและรากหญ้าฝรั่นช่วยแก้ไข้ (ดอก, ราก)
  19. ช่วยขับเสมหะ
  20. ในประเทศเยอรมนีมีการใช้หญ้าฝรั่นเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง อาการปวดในกระเพาะอาหาร
  21. ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  22. ช่วยแก้อาการบิด (ราก)
  23. ช่วยแก้อาการปวดท้องหลังการคลอดบุตรของสตรี
  24. ช่วยขับระดูของสตรี
  25. ช่วยแก้อาการเกร็ง เส้นกระตุก ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก
  26. ช่วยระงับความเจ็บปวด
  27. มีการใช้สารสกัดที่ได้จากหญ้าฝรั่นที่มีตัวยาที่ชื่อว่า Swedish bitters เพื่อใช้ในการเตรียมยาบำบัดเพื่อรักษาโรคต่างๆ
  28. งานการศึกษาอื่น ๆ ระบุว่าหญ้าฝรั่นอาจมีศักยภาพในคุณสมบัติทางด้านการแพทย์อีกหลายอย่าง

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าฝรั่น

สารเคมีที่พบในหญ้าฝรั่นได้แก่ Crocin 2%, Destrose, Picrocrocin 2%, Riboflavin และน้ำมันหอมระเหย

ประโยชน์ของหญ้าฝรั่น

  1. เชื่อว่าหญ้าฝรั่นมีสรรพคุณช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและมีอายุยืนยาว
  2. หญ้าฝรั่นมีรสขมอมหวานและมีกลิ่นหอมแบบโบราณ นำมาใช้ทำเป็นยาหอมได้
  3. หญ้าฝรั่นนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหาร ใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยจะช่วยทำให้อาหารมีสีเหลืองส้มสว่าง อย่างเช่น ลูกกวาด ขนมหวาน เค้ก พุดดิงคัสตาร์ด รวมไปถึงเหล้าและเครื่องดื่ม
  4. หญ้าฝรั่นเป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอมและกลิ่นติดทนนาน เมื่อนำมาใช้ทำอาหารจึงไม่ต้องใช้มาก และนิยมนำมาใส่ในขั้นตอนสุดท้ายของการปรุงอาหาร เนื่องจากเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงมากจึงมักนิยมใส่ในอาหารในโอกาสพิเศษต่างๆ เพื่อเฉลิมฉลอง
  5. นอกจากนำมาใช้แต่งกลิ่นอาหารแล้ว ยังใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและน้ำหอมหรือน้ำอบได้อีกด้วย
  6. ใช้ในการย้อมสีผ้า โดยให้สีเหลือง
  7. ในตำรายาสมุนไพร Farmakuya ซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรโบราณระบุว่า หญ้าฝรั่นมีสรรพคุณนำมาใช้ทำเป็นทิงเจอร์ที่มีชื่อว่า Tinctura Opiicrocata
  8. นิยมใช้กับข้าวปรุงรสต้นตำรับหรืออาหารจากต่างประเทศ เช่น ข้าวบุหรี่, ข้าวหมาก ข้าวปิลาฟ (Pilaf Rice), ข้าว Pilaus ของอินเดีย, ข้าวปาเอญ่า (Paella) ของสเปน, ข้าว Risotto Milanese ของอิตาเลียน, ซุปทะเลรวมมิตรแบบฝรั่งเศส หรือบุยยาเบส(Bouillabaisse) ด้วยการใช้หญ้าฝรั่นนำมาชงด้วยน้ำร้อนแล้วกรองเอาแต่น้ำ หรือนำมาบดให้ละเอียดและผสมลงในอาหารหรือใส่ทั้งเส้น

คำสำคัญ : หญ้าฝรั่น

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หญ้าฝรั่น. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1757

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1757&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

จิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่าย

“จิงจูฉ่าย” หรือ “โกศจุฬาลัมพา” หรือที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกว่า “เซเลอรี” (Celery) อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกายนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,875

มะดูก

มะดูก

มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Siphonodon celastrineus เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลืองผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,135

อัญชัน

อัญชัน

อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,751

พลูช้าง

พลูช้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ที่มีลำต้นอวบ และชอบอาศัยเกาะตามไม้ยืนต้น ลำต้นโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.  ใบจะเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน เป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะใบจะเป็นแผ่นรูปไข่เบี้ยวรูปรี  ขอบใบเรียบ ตรงปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะกลม หรือจะเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบจะมีความกว้างประมาณ 6.5-15 ซม.  ดอกจะออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ตรงยอด มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาวและมีก้านช่อ ดอกสั้นกว่าก้านใบมาก กาบหุ้มช่อดอกด้านนอกจะเป็นสีเขียว ส่วนด้านในจะเป็นสีเหลือง กาบหุ้มบนแห่งช่อดอกจะประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศเป็นจำนวนมากแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4-6 อัน และจะมีอยู่ 1 ช่อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,538

พุทธรักษา

พุทธรักษา

พุทธรักษา เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา และภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 29,627

ไทรย้อย

ไทรย้อย

ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,939

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,796

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,734

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร จัดเป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่น ๆ ของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นกระจายอยู่ตามป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,368

ตาล

ตาล

ต้นตาล หรือ ต้นตาลโตนด เป็นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด มีลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำและแข็งมาก แต่ไส้กลางของลำต้นจะอ่อน ส่วนบริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ในขณะที่ต้นยังเตี้ยจะมีทางใบแห้งและติดแน่น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง ไม่ชอบอากาศเย็น ชอบแสงแดดจัด ทนต่อดินเค็ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด การย้ายไปปลูกต้นจะไม่รอด เพราะรากแรกที่แทงลงดินอยู่ลึกมาก หากรากแรกขาดก็จะตายทันที

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 7,423