ผักแพว

ผักแพว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 7,796

[16.4258401, 99.2157273, ผักแพว]

ผักแพว ชื่อสามัญ Vietnamese coriander

ผักแพว ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Persicaria odorata (Lour.) Soják) จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)

สมุนไพรผักแพว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พริกม้า พริกม่า (นครราชสีมา), หอมจันทร์ (อยุธยา), ผักไผ่ (ภาคเหนือ), ผักแพว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จันทน์โฉม, จันทน์แดง, ผักไผ่น้ำ, ผักแพ้ว, ผักแพรว, ผักแจว, พริกบ้า, หอมจันทร์ เป็นต้น

ลักษณะของผัวแพว

  • ต้นผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะ ๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

 

 

 

  • ใบผักแพว มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปหอกแกมรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่แต่บางกว่า ขอบใบเรียบ ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ก้านใบสั้นมีหู ใบลักษณะคล้ายปลอกหุ้มรอบลำต้นอยู่บริเวณเหนือข้อของลำต้น
  • ดอกผักแพว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวนวลหรือชมพูม่วง

 

  • ผลผักแพว ผลมีขนาดเล็กมาก

สรรพคุณของผักแพว

  1. ผักแพวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และช่วยในการชะลอวัย (ใบ)
  2. ช่วยป้องกันและต่อต้านมะเร็ง (ใบ)
  3. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ (ใบ)
  4. ใบใช้รับประทานช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
  5. ช่วยบำรุงประสาท (ราก)
  6. รสเผ็ดของผักแพวช่วยทำให้เลือดลมในร่างกายเดินสะดวกมากขึ้น (ใบ)
  7. ช่วยรักษาโรคหวัด (ใบ)
  8. ช่วยขับเหงื่อ (ดอก)
  9. ช่วยรักษาโรคปอด (ดอก)
  10. ช่วยรักษาหอบหืด (ราก)
  11. ช่วยแก้อาการไอ (ราก)
  12. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะเป็นผักที่มีไฟเบอร์สูงถึง 9.7 กรัม ซึ่งจัดอยู่ในผักที่มีเส้นใยอาหารมากที่สุด 10 อันดับของผักพื้นบ้านไทย (ใบ)
  13. ผักแพวมีรสเผ็ดร้อน จึงช่วยแก้ลม ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ใบ, ยอดผักแพว) ใช้เป็นยาขับลมขึ้นเบื้องบน ช่วยให้เรอระบายลมออกมาเวลาท้องขึ้น ท้องเฟ้อ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
  14. รากผักแพวช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร (ราก) แก้กระเพาะอาหารพิการหรือกระเพาะอักเสบ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
  15. ช่วยแก้ท้องเสีย อุจจาระพิการ (ใบ, ดอก, ต้นราก)
  16. ช่วยแก้อาการเจ็บท้อง (ใบ, ดอก, ต้นราก)
  17. ช่วยแก้อาการท้องรุ้งพุงมาน (ใบ, ดอก, ต้นราก)
  18. ใบผักแพวช่วยรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด แต่ต้องรับประทานติดต่อกัน 5-8 วัน
  19. ลำต้นผักแพวใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
  20. ราก ต้น ใบ และดอก นำมาปรุงเป็นยาได้ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร (ใบ, ดอก, ต้น, ราก)
  21. ช่วยรักษาโรคตับแข็ง (ใบ)
  22. ช่วยลดอาการอักเสบ (ใบ)
  23. ใบผักแพวใช้แก้ตุ่มคัน ผดผื่นคันจากเชื้อรา เป็นกลากเกลื้อน[6]ด้วยการใช้ใบหรือทั้งต้นนำมาคั้นหรือตำผสมกับเหล้าขาว แล้วใช้เป็นยาทา (ใบ, ทั้งต้น)
  24. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ราก)
  25. ช่วยรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)
  26. ช่วยแก้เส้นประสาทพิการ แก้เหน็บชาตามปลายนิ้วมือ ปลายเท้า และอาการมือสั่น (ใบ, ดอก, ต้นราก)
  27. ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดลมของสตรี (ใบ, ดอก, ต้นราก)

ข้อควรรู้ ! : ผักแพวหลัก ๆ แล้วจะมีอยู่สองชนิดที่ต่างกันแค่สีต้น คือ ผักแพวแดงและผักแพวขาว เป็นสมุนไพรคู่แฝดที่นำมาประกอบเป็นจุลพิกัดหรือใช้คู่กันเป็นยาสมุนไพรจะมีฤทธิ์ยาแรงขึ้น และมีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้นด้วย

ประโยชน์ของผักแพว

  1. รสเผ็ดของผักแพวช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันในเลือด เหมาะเป็นผักสมุนไพรลดความอ้วนได้โดยไม่ขาดสารอาหาร เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยและวิตามิน แต่ต้องรับประทานในปริมาณที่มากพอหรือวันละไม่น้อยกว่า 3 ขีด
  2. ผักแพวมีวิตามินเอสูง จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี โดยมีวิตามินเอสูงถึง 8,112 หน่วยสากล ในขณะที่อีกข้อมูลระบุว่ามีมากถึง 13,750 มิลลิกรัม
  3. ผักแพวเป็นผักที่ติดอันดับ 8 ของผักที่มีวิตามินซีสูงสุด โดยมีวิตามินซี 115 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
  4. ผักแพวมีแคลเซียมสูงถึง 390 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี
  5. ผักแพวมีธาตุเหล็กสูงสุดติด 1 ใน 5 อันดับของผักที่มีธาตุเหล็กสูง
  6. ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ประกอบอาหาร ใช้รับประทานเป็นผักสด หรือใช้แกล้มกับอาหารที่มีรสจัด ใช้เป็นเครื่องเคียงของอาหารอีสาน อาหารเหนือ อาหารเวียดนาม หรือนำมาหั่นเป็นฝอย ใช้คลุกเป็นเครื่องปรุงสดประกอบอาหารประเภทลาบ ลู่ ตำซั่ว ก้อยกุ้งสด ข้าวยำ แกงส้ม เป็นต้น
  7. ใบผักแพวนำมาใช้แกงประเภทปลา เพื่อช่วยดับกลิ่นของเนื้อสัตว์หรือกลิ่นคาวปลาได้

คำสำคัญ : ผักแพว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักแพว. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1714

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1714&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ขี้เหล็ก

ขี้เหล็ก

ลักษณะต้นขี้เหล็กเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบรวมซึ่งประกอบด้วยใบอ่อนประมาณื20 ใบ ลักษณะใบจะดกหนาทึบ คล้ายใบทรงบาดาล หรือใบของชุมเห็ดไทย จะออกเป็นช่อสีเหลืองดอกจะออกเป็นช่อสีเหลืองสวย ผลมีลักษณะแบนอวบและยาวประมาณ 15 ซ.ม. คล้ายกับฝักแค นิเวศวิทยา  เป็นพรรณไม้พบอยู่ทั่วไปของประเทศไทย นิยมปลูกเป็นไม้ร่มตามริมถนน ออกดอกตลอดปี 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,102

อินจัน

อินจัน

ต้นอินจัน หรือ ต้นจัน เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า เป็นต้นไม้โบราณที่ในปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ สมัยนี้หาดูได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเมื่อก่อนจะนิยมปลูกไว้ตามวัด ต้นอินจันนับว่าเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างแปลก โดยต้นเดียวกันแต่ออกผลได้ 2 แบบ ซึ่งไม่เหมือนกัน ผลหนึ่งลูกกลมป้อม ๆ ขนาดใหญ่กว่ามาก เราเรียกว่า "ลูกอิน" แต่อีกผลลูกแบน ๆ แป้น ๆ มีขนาดเล็กกว่า เราจะเรียกว่า "ลูกจัน"

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,944

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,380

จิกน้ำ

จิกน้ำ

ต้นจิกน้ำ เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือแผ่กว้าง มีลำต้นเป็นปุ่มปม เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสันแหลมตามยาว กิ่งก้านมักคดงอ ปลายกิ่งมักลู่ลง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียในแถบรัฐควีนส์แลนด์ และสำหรับประเทศไทยบ้านเราก็จะพบต้นจิกน้ำได้ทั่วทุกภาคตามริมฝั่งน้ำ ริมคลอง ริมบึง ป่าพรุและป่าชายเลน

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 36,363

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ

ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,776

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,642

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 10,324

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,825

กระโดงแดง

กระโดงแดง

ต้นกระโดงแดงเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. มีพอนที่โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว พุ่มใบแน่น เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว กิ่งอ่อนแบนเป็นเหลี่ยม มีหูใบรูปกรวยแหลมที่ปลายกิ่ง ใบกระโดงแดงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,433

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 4,230