มะคังแดง

มะคังแดง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 2,343

[16.4258401, 99.2157273, มะคังแดง]

มะคังแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioecrescis erythroclada (Kurz) Tirveng. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gardenia erythroclada Kurz) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรมะคังแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะคัง (เชียงใหม่), มุยแดง ลุมปุกแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา), จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี), จงก่าขาว จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี), มะคังป่า (ภาคเหนือ), ตุมกาแดง (ภาคกลาง), โรคแดง เป็นต้น

ลักษณะของมะคังแดง

  • ต้นมะคังแดง จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความของต้นได้ประมาณ 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ เปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมทั่วไป ตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่โดยรอบ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ตามกิ่งก้านอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้ตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน พม่า และไทย มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และตามป่าเบญจพรรณ
  • ใบมะคังแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะรีกว้าง รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร หลังใบด้านบนเรียบ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม หรือมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบมีขนสีขาว มีหูใบรูปสามเหลี่ยมหลุดร่วงได้ง่าย
  • ดอกมะคังแดง ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ขนาดเล็ก โดยจะออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบดอกเป็นรูปกลม ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นติดกับกลีบดอกวางสับหว่างกลีบดอก
  • ผลมะคังแดง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม สีเขียว มีสันนูนประมาณ 5-6 สัน ผิวผลเรียบ ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ออกดอกและติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของมะคังแดง

  1. เนื้อไม้มีรสเย็นเฝื่อน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เลือดลมเดินไม่สะดวก แก้พิษโลหิตและน้ำเหลือง (เนื้อไม้)
  2. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  3. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (เนื้อไม้)
  4. แก่นใช้ผสมกับมุ่ยขาว มุ่ยแดง หนามแท่ง เล็บแมว เงี่ยงปลาดุก เป็นยารักษามะเร็ง โรคกระเพาะอาหาร (แก่น)
  5. รากใช้เป็นยาถ่าย (ราก)
  6. เปลือกต้นใช้เข้ายากับมุ่ยขาว ทำเป็นยาลูกกลอน แก้ริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
  7. แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการประจำเดือน (แก่น)
  8. เนื้อไม้ใช้ผสมกับหัวยาข้าวเย็น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กระษัยไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น ปัสสาวะเหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง และกินอาหารไม่ได้) (เนื้อไม้)
  9. เปลือกต้นใช้ตำพอกแผลสดเพื่อห้ามเลือด (เปลือกต้น)
  10. แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (แก่น)
  11. เปลือกต้นใช้เข้ายากับมุ่ยขาว ทำเป็นยาลูกกลอน แก้อาการปวดเส้นเอ็น อัมพฤกษ์ อัมพาต (เปลือกต้น)

ประโยชน์ของมะคังแดง

  • เนื้อไม้ใช้ทำหน้าไม้สำหรับล่าสัตว์ ทำเครื่องมือทางการเกษตร

คำสำคัญ : มะคังแดง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะคังแดง. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1711

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1711&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระถิน

กระถิน

สำหรับต้นกระถินนั้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทา ส่วนใบนั้นคล้ายขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาวประมาณ 12.5-25.0 เซนติเมตร โดยแยกแขนงออกประมาณ 3-19 คู่ แกนกลางใบมีขน โคนใบเบี้ยว ปลายแหลม และดอกกระถินนั้นจะมีสีขาว โดยออกดอกเป็นช่อประมาณ 1-3 ช่อ แบบกระจุกแน่นตามง่ามใบรวมทั้งปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนคล้ายรูประฆังติดกัน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก เมื่อดอกกระถินบานเจริญเต็มที่แล้วกว้างประมาณ 2.0-2.5 เซนติเมตร และเมล็ดเป็นมันมีสีน้ำตาลรูปไข่แบนกว้าง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,970

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,278

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,192

กกลังกา

กกลังกา

ต้นกกลังกาเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นออกเป็นกอมีหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายจำพวกขิงหรือเร่ว ลำต้นมีความสูงประมาณ 100-150 ซม. ลักษณะของลำต้นตั้งตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นกลมมีสีเขียวใบกกลังกาจะออกแผ่ซ้อน ๆ กัน อยู่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาว ปลายใบแหลม กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 18-19 ซม. ใบมีสีเขียว ริมขอบ ใบเรียบใต้ท้องใบสาก ลำต้นหนึ่งจะมีใบประมาณ 18-25 ใบ ดอกกกลังกา ออกเป็นกระจุก อยู่รวมกันเป็นใบ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาวแกมเขียว ก้านดอกเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 6-7 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,868

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,307

มะดัน

มะดัน

มะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน ผลมะดัน หรือลูกมะดัน ผลมีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 10,842

ชะมวง

ชะมวง

ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบชะมวงเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาและแข็งเปราะ ก้านใบสีแดงยาว 5-1 เซนติเมตร  

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,933

คัดเค้า

คัดเค้า

คัดเค้าเป็นไม้เถาเนื้อเหนียวแข็งที่มีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 6 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล มักขึ้นพันเลื้อยไปยังต้นและกิ่งไม้ และตามลำต้นจะมีข้อและใบงอกออกมาเป็นคู่ๆ ข้อละ 1 คู่ พร้อมหนามแหลมงองุ้มออกจากโคนใบคล้ายเขาของควาย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของต้นคัดเค้าเลยทีเดียว ส่วนใบนั้นจะเป็นใบเดี่ยว ออกแบบตรงข้ามกัน รูปรี โคนสอบ ปลายแหลม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อกระจุกอยู่ตามซอกใบเป็นช่อใหญ่ โดยมีลักษณะคล้ายกับดอกเข็ม ส่วนผลของคัดเค้าจะออกเป็นพวงหรือกลุ่ม มีลักษณะกลมหรือรี ผิวผลจะเรียบและมัน สีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะมีสีดำ ปลายผลจะแหลม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก โดยออกผลในช่วงเดือนเมษายน

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,742

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาด เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เปลือกและผลแก่มีสรรพคุณ ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับลม แก้ไข้มาเลเรีย รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ เป็นยาสมาน และใช้ห้านเลือดได้ นอกจากนี้ เปลือกมะพลับยังให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้ยางสีน้ำตาลใช้ละลายน้ำ แล้วนำไปย้อมผ้า แห อวน เพื่อให้ทนทาน ไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,031

กระเชา

กระเชา

ต้นกระเชาไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-30 ม. แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักแตกง่ามใกล้โคนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมเทา มีช่องอากาศสีขาวทั่วไป ใบกระเชาใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-14 ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว มน มักเว้าเล็กน้อยตรงก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ ขอบเรียบหรือเป็นจักห่างๆ แผ่นใบด้านบนมีขนเล็กน้อยตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ก้านใบยาว 5-1.3 ซม. มีหูใบรูปใบหอกขนาดเล็ก 2 อัน ร่วงง่าย

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,875