ผักกาดหัว

ผักกาดหัว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 4,955

[16.4258401, 99.2157273, ผักกาดหัว]

ผักกาดหัว ชื่อสามัญ Daikon, Daikon radish, Radish, White radish

ผักกาดหัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphanus sativus L., Raphanus sativus var. hortensis Backer, Raphanus sativus var. longipinnatus L.H. Bailey, Raphanus sativus var. niger (Mill.) J.Kern. จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)

ผักกาดหัว มีชื่อเรียกอื่นว่า ไช่เท้า ไช่โป๊ หัวไชเท้า หัวไช้เท้า หัวผักกาด หัวผักกาดขาว (ทั่วไป), ผักกาดจีน(ลำปาง), ผักขี้หูด ผักเปิ๊กหัว (ภาคเหนือ), ผักกาดหัว (ภาคกลาง) เป็นต้น

ผักกาดหัวมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน โดยทั่วไปแล้วเจ้าหัวผักกาดนี้จะมีอยู่ด้วยกันหลายสี ไม่ว่าจะเป็นสีขาว สีแดง สีม่วง สีชมพู และขนาดก็จะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์แยกย่อย (Subspecies)

ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่น ๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

 ประโยชน์ของผักกาดหัว

  1. ผักกาดหัวเป็นผักที่หลาย ๆ ประเทศนิยมนำมาทำเป็นอาหาร เมนูหัวไชเท้า เช่น แกงจืด แกงส้ม ต้มจับฉ่าย ต้มจืดหัวไชเท้า ขนมหัวผักกาด สลัดหัวผักกาด ยำหัวผักกาด เป็นต้น
  2. ประโยชน์ของหัวผักกาด สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทองเชื่อว่ามีส่วนช่วยทำให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง ดูมีน้ำมีนวลเหมือนคนหนุ่มสาว
  3. เป็นผักสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นหวัด มีอาการไอ คออักเสบเรื้อรัง และมีเสียงแหบแห้ง ด้วยการนำหัวไชเท้าสดมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ไว้ในขวดแก้ว หลังจากนั้นโรยน้ำตาล 2-3 ช้อนโต๊ะ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน แล้วรินน้ำดื่มเป็นประจำ
  4. คั้นเป็นน้ำดื่มดับกระหาย ด้วยการนำหัวไชเท้าสดมาคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำขิง น้ำตาลทรายขาวพอหวาน แล้วนำมาต้มให้เดือดแล้วจิบบ่อย ๆ
  5. มีส่วนช่วยในการนอนหลับ
  6. มีส่วนช่วยแก้โรคประสาท
  7. ช่วยลดความดันโลหิต
  8. หัวผักกาดมีสารลิกนิน (Lignin) ซึ่งจะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากการเสื่อมของเซลล์ และมีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  9. หัวไชเท้ามีสารเควอร์เซทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค และช่วยต่อต้านมะเร็ง
  10. ช่วยระงับอาการหอบ (เมล็ด)
  11. ช่วยในการเจริญอาหาร (ใบ, ทั้งต้น)
  12. ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกาย
  13. ช่วยขยายหลอดลมและหลอดเลือด
  14. ช่วยบำรุงโลหิต(ราก)
  15. ช่วยทำให้หายใจโล่งขึ้น
  16. แก้อาการปวดศีรษะข้างเดียว (ราก)
  17. สรรพคุณหัวไชเท้า ช่วยในการขับและละลายเสมหะ
  18. แก้อาการไอหอบ มีเสมหะมาก (เมล็ด)
  19. ช่วยเรียกน้ำลาย (ราก)
  20. แก้อาการอาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด (ราก)
  21. ช่วยรักษาอาการต่อมน้ำนมบวม น้ำนมคั่ง (ใบ, ทั้งต้น)
  22. ช่วยในการกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยในการย่อยอาหาร
  23. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย(ใบ, ทั้งต้น)
  24. ชาวจีนเชื่อว่าหัวผักกาดมีผลต่อการเคลื่อนตัวของพลังชี่ ซึ่งมีผลต่อกระเพาะอาหารและระบบย่อย
  25. ใช้เป็นยาระบาย (เมล็ด)
  26. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง บิด
  27. ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก
  28. ช่วยชำระล้างผนังกระเพาะอาหารและลำไส้
  29. ช่วยสมานลำไส้ (ราก)
  30. มีส่วนช่วยให้ปัสสาวะใส ไม่ขุ่น
  31. ช่วยบำรุงม้าม (ราก)
  32. ประโยชน์ของหัวไชเท้า ช่วยส่งเสริมการทำงานของตับ จึงช่วยกำจัดพิษและของเสียในร่างกาย
  33. แก้อาการผิวหนังเป็นผื่นคัน มีน้ำเหลือง ด้วยการใช้ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นผื่นคัน
  34. ชาวจีนสมัยก่อนนำหัวผักกาดมาใช้รักษาโรคหัดในเด็ก
  35. ในญี่ปุ่นมักนำหัวไชเท้าดิบมาขูดเป็นฝอยลงในซีอิ๊วใช้เป็นน้ำจิ้ม
  36. มีการนำมาแปรรูปเป็นหัวไชโป๊ดองเค็ม ตากแห้งเพื่อรับประทาน
  37. ในตำราอาหารญี่ปุ่นแนะนำว่าให้ต้มปลาหมึกตัวสดกับหัวไชเท้า ว่ากันว่าจะช่วยทำให้เนื้อปลาหมึกนุ่มมาก
  38. หัวไชเท้ารักษาฝ้า กระ ด้วยครีมหัวไชเท้า วิธีทําครีมหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วหั่นบาง ๆ หลังจากนั้นนำไปปั่นพอละเอียดแล้วใส่น้ำมะนาว 1 ช้อนแกง แล้วปั่นในโถอีกครั้งเป็นอันเสร็จ วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้า ให้นำมาทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก หากทำเป็นประจำจะช่วยลดฝ้า กระให้จางลงได้
  39. หัวไช้เท้าพอกหน้า การรักษาหน้าด้วยหัวไชเท้าอีกสูตร วิธีพอกหน้าด้วยหัวไชเท้า อย่างแรกให้นำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาดไม่ต้องปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะใส่ลงไปในโถปั่น แล้วใส่จมูกข้าวสาลีตามลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำผึ้งแท้ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วปั่นจนละเอียดเป็นอันเสร็จ แล้วนำมาพอกบริเวณใบหน้า หรือพอกตามตัวเป็นเวลาประมาณ 15 นาทีแล้วจึงล้างออก ควรทำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง (สำหรับบางคนการใช้ในช่วงระยะแรกอาจจะมีอาการแสบแดงบ้างเล็กน้อย ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นเรื่องปกติ หากทำไปสักระยะก็จะเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้น)

คำสำคัญ : ผักกาดหัว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกาดหัว. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1687

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1687&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เกล็ดหอย

เกล็ดหอย

ต้นหญ้าเกล็ดหอย จัดเป็นพรรณไม้หรือวัชพืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก บริเวณที่สัมผัสดินหรือข้อต่อจะออกราก มีความสูงได้ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเรียวยาว ผิวลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้บ้างเล็กน้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคใต้ของประเทศไทย ชอบสภาพชุ่มชื้นในไร่ชา กาแฟ และสวนผลไม้

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,859

ผักแขยง

ผักแขยง

ต้นผักแขยง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นพืชฤดูเดียวหรือหลายฤดู และจัดเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นกลมกลวงและเป็นข้อๆ และมีความสูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร อาจแตกกิ่งมากหรือไม่แตกกิ่ง ลำต้นทอดเลื้อย ผิวเกลี้ยงหรือมีต่อม แตกรากจากข้อ ทั้งต้นและใบเมื่อนำมาหักจะมีกลิ่นหอมฉุนและเผ็ดร้อน ออกดอกและติดในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินชื้นแฉะ มักขึ้นตามริมคูหรือคันนา อ่างเก็บน้ำ บริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย และพื้นที่ชุ่มชื้นอื่นๆ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,962

เข็มป่า

เข็มป่า

ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นใหญ่ สูงประมาณ 3-4 เมตร  ใบมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาว ๆ ขอบใบเรียบ ใบยาว  ดอกออกตลอดปี ออกดอกเล็กเป็นพวง เหมือนดอกเข็มธรรมดาแต่สีขาว   ผลมีลักษณะเป็นผลกลม มีสีเขียว  เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามธรรมชาติในป่าทั่ว ๆ ไป  ออกดอกตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและตอนกิ่ง  ประโยชน์สมุนไพร ดอกใช้รักษาโรคตาเปือก ตาแฉะ ตาแดง ใบใช้ยาฆ่าพยาธิ ผลใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวาร  เปลือกใช้ตำแล้วคั้นหยอดหูเมื่อแมลงเข้าหู รากใช้เป็นยารักษาเสมหะในท้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,098

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,637

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,987

เต็งหนาม

เต็งหนาม

ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,694

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ต้นใบเงิน มีถิ่นที่อยู่ในประเทศนิวกินี ส่วนต้นใบนาก มีถิ่นกำเนิดในเขตมรสุมในเมืองร้อน ใบเงิน ใบทอง และใบนากเป็นพรรณไม้ชนิดเดียวกัน โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องการแสงแดดเป็นบางเวลา และทั้งใบเงิน ใบทอง และใบนาก ต่างก็มีสรรพคุณทางยาเช่นเดียวกัน 

 

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 13,264

การะเกด

การะเกด

สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,049

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ต้นมะกล่ำตาหนู มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,089

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ใบว่านตีนตะขาบ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 14,156