ข้าว

ข้าว

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้ชม 12,531

[16.4258401, 99.2157273, ข้าว]

ข้าว ชื่อสามัญ Rice
ข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
        ข้าวเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกธัญพืชที่สามารถกินเมล็ดได้ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 สปีชีส์ใหญ่ ๆ คือ Oryza glaberrima (ปลูกเฉพาะในเขตร้อนของแอฟริกา) และ Oryza sativa (ปลูกกันทั่วโลก) สำหรับชนิด Oryza sativa ยังแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกคือ Javanica, Japonica (ปลูกมากในเขตอบอุ่น) และ indica (ปลูกมากในเขตร้อน)
        สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน
         ข้าวที่แนะนำให้รับประทาน คือ ข้าวกล้องที่ยังมีจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ เพราะจะทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า ส่วนข้าวขัดขาวที่ขายกันอยู่ทั่วไปนั้นไม่แนะนำให้รับประทานเท่าไหร่ เพราะจะให้แค่พลังงานเท่านั้นและยังได้น้ำตาลเป็นของแถมอีกด้วย หากรับประทานต่อเนื่องไปนานๆ ก็อาจจะทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดตีบตัน โรคสมองเสื่อม รวมไปถึงโรคอัมพฤกษ์ได้ !
         ข้าว จัดว่ามีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านเราไม่ว่าใคร ๆ ก็จะรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก เพราะเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานและความอบอุ่น นอกจากนี้ยังใช้ทำเป็นขนมหวานต่าง ๆ ทำปุ๋ย ของใช้ ของเล่นต่างๆ เครื่องประดับ และใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย

สรรพคุณของข้าว
1. ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ฟื้นฟูกำลัง ป้องกันอาการอ่อนเพลีย (วิตามินบี 2)
2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญโตของร่างกาย
3. ข้าวกล้องมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา (ข้าวกล้องงอก)
4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส (วิตามินอี)
5. ข้าวกล้องมีวิตามินบี 3 ซึ่งบำรุงสุขภาพผิวหนังและลิ้นได้
6. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้อง)
7. ข้าวกล้องงอกช่วยป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์
8. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารได้ (วิตามินบี 2)
9. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ฟอสฟอรัส)
10. ช่วยป้องกันและเสริมสร้างการสึกหรอของร่างกาย (โปรตีน)
11. ลูทีนในข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคต้อกระจก จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ทำงานในออฟฟิศหรือต้องใช้สายตาอย่างหนักในการนั่งหน้าคอมพ์นานๆ (ลูทีน,
     เบตาแคโรทีน)
12. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง (ธาตุเหล็ก, ธาตุทองแดง)
13. ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (เบตาแคโรทีน, วิตามินอี)
14. ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ส่งออกซิเจนในเลือดไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย (ธาตุเหล็ก)
15. ประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ ใยอาหารของข้าวหอมมะลิกล้องจะช่วยดูดซับของเสียและสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกายได้ (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
16. เส้นใยอาหารของข้าวหอมนิลมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ข้าวหอมนิล)
17. ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ (น้ำข้าว)
18. ชช่วยรักษาอหิวาตกโรค (น้ำข้าว)
19. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (น้ำข้าว)
20. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
21. ข้าวหอมมะลิแดงช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก (ไอโอดีน)
22. ช่วยแก้ตาแดง (น้ำข้าว)
23. ช่วยแก้เลือดกำเดา (น้ำข้าว)
24. ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก (แผลที่มุมปาก) และริมฝีปากบวม (วิตามินบี 2)
25. ช่วยเสริมการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ (โดยเฉพาะข้าวกล้อง)
26. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (น้ำข้าว)
27. การรับประทานข้าวกล้องจะได้กากอาหารมากเป็นพิเศษ ซึ่งจะช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูกและมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี
28. ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (ข้าวผัวไม่ลืม)
29. ข้าวประโยชน์ช่วยแก้พิษต่างๆ (น้ำข้าว)
30. ช่วยลดการเกิดหรือลดอาการของการเป็นตะคริวได้ (แคลเซียม)
31. ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี เพราะจะมีวิตามินบี 1 สูง
32. ประโยชน์ข้าวกล้องงอกช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายมากยิ่งขึ้น (ข้าวกล้องงอก)
33. ข้าวกล้องช่วยลดอาการผิดปกติต่างๆ ของหญิงวัยทอง (ข้าวกล้องงอก)
34. ช่วยรักษาอาการตกเลือดหลังคลอดได้ (ข้าวผัวไม่ลืม)

ประโยชน์ของข้าว
1. เมล็ดข้าว สามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับได้
2. รำข้าวสามารถนำมาใช้ทำเป็น น้ำมันรำข้าว ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ทำลิปสติก ทำยาหม่อง ทำแวกซ์ หรือทำเป็นโลชันบำรุงผิว ฯลฯ
3. ฟางข้าวสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ย ปลูกเห็ด ทำเป็นของเล่น กระดาษ ทำเป็นแกลบหรือขี้เถ้า ผสมทำเครื่องปั้นดินเผา ถ่านกัมมันต์หรือถ่านดูดกลิ่น ใช้เป็นส่วนผสมของยาขัดรถ ฯลฯ
4. ประโยชน์ข้าวนอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารหลักแล้วยังใช้ทำเป็นของหวานชนิดต่างๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ขนมไทย เช่น ลอดช่อง ขนมตาล ขนมกล้วย ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด
    ขนมหม้อแกง ปลากริมไข่เต่า ทำเป็นแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ฯลฯ

 คุณค่าทางโภชนาการของข้าวขาวดิบต่อ 100 กรัม
1. พลังงาน 365 กิโลแคลอรี
2. คาร์โบไฮเดรต 80 กรัม
3. น้ำตาล 0.12 กรัม
4. เส้นใย 1.3 กรัม
5. ไขมัน 0.66 กรัม
6. โปรตีน 7.13 กรัม
7. น้ำ 11.61 กรัม
8. วิตามินบี 1 0.0701 มิลลิกรัม 6%
9. วิตามินบี 2 0.0149 มิลลิกรัม 1%
10. วิตามินบี 3 1.62 มิลลิกรัม 11%
11. วิตามินบี 5 1.014 มิลลิกรัม 20%
12. วิตามินบี 6 0.164 มิลลิกรัม 13%
13. ธาตุแคลเซียม 28 มิลลิกรัม 3%
14. ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม 6%
15. ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 7%
16. ธาตุแมงกานีส 1.088 มิลลิกรัม 52%
17. ธาตุฟอสฟอรัส 115 มิลลิกรัม 16%
18. ธาตุโพแทสเซียม 115 มิลลิกรัม 2%
19. ธาตุสังกะสี 1.09 มิลลิกรัม 11%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

วิธีเลือกซื้อข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง คือ ข้าวที่สีเพียงครั้งเดียว โดนกะเทาะเอาเปลือกนอกออกเท่านั้น จะไม่มีการขัดสีเอาเส้นใยที่อยู่รอบๆ เมล็ดออก โดยหลักการเลือกซื้อข้าวกล้องให้ได้ประโยชน์สูงสุดมีดังนี้
1. เมล็ดข้าวจะต้องสมบูรณ์ ไม่แตกหักหรือแหว่งตรงปลายเมล็ด เพราะถ้าเมล็ดแหว่งหรือแตกหักก็แสดงว่าจมูกข้าวหายไปแล้ว ซึ่งตรงนี้แหละสำคัญมากๆ เพราะจมูกข้าวเป็นแหล่งรวมสาร
    อาหารที่มากที่สุดในเมล็ดข้าว
2. สีของเมล็ดต้องขาวขุ่น หรือมีสีน้ำตาลปนบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ บางครั้งอาจจะมีสีเขียวอ่อนๆ ติดอยู่ นั่นแสดงว่าเป็นข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใหม่ๆ เยื่อหุ้มจึงยังติดอยู่
3. เมล็ดข้าวต้องแห้งสนิท ไม่มีความชื้น ไม่มีราขึ้น บรรจุอยู่ในถุงที่ปิดสนิท และมีแหล่งที่ผลิตชัดเจน
4. การซื้อแต่ละครั้งควรซื้ออย่างพอเหมาะกับสมาชิกในครอบครัวที่รับประทานได้ 1-2 อาทิตย์ เพื่อความสดใหม่

วิธีการหุงข้าวกล้องให้ได้คุณค่ามากที่สุด
1. เมื่อเปิดถุงใช้ ควรปิดให้สนิทเพื่อป้องกันหนูและแมลงสาบมาแพร่เชื้อ
2. การหุงแต่ละครั้งควรหุงให้พอดีสำหรับการรับประทานในแต่ละมื้อ เพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามิน
3. เริ่มจากการซาวน้ำข้าวกล้องก่อนหุง ควรซาวไม่เกิน 1-2 ครั้ง เพราะการซาวน้ำหลายรอบจะทำให้สูญเสียวิตามินบางชนิดที่ละลายน้ำไปได้
4. เมื่อหุงสุกแล้วให้ถอดปลั๊กทันทีและรับประทานทันทีได้ก็จะดีมาก เพราะวิตามินบางชนิดเมื่อถูกความร้อนนานๆ จะทำให้เสื่อมสลายไปได้โดยง่าย ยิ่งถ้าเสียบทิ้งไว้ทั้งวัน วิตามินหรือแร่
    ธาตุที่สำคัญก็จะไม่เหลืออยู่เลย

คำสำคัญ : ข้าว

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ข้าว. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1577

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1577&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เพกา

เพกา

ลักษณะทั่วไป     ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ประมาณ 4 – 20 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนเปลือกเรียบสีเทา บางทีแตกออกเป็นรอยตื้น ๆ เล็กน้อย หรือรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ เกิดจากใบร่วงหล่นไปแล้ว  ใบออกเป็นช่อคล้ายขนนกประมาณ 2-3 ชั้น มีใบเดียว ๆ ตรงปลายก้านจะเรียงตรงข้ามชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยจะมีลักษณะเป็นรูปไข่และรูปขอบขนาน ส่วนปลายใบจะแหลม ขอบใบเรียบ โคนสอบกลม มักจะเบี้ยว  ดอกจะออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด กลีบรองกลีบดอกจะมีลักษณะเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอกเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อเป็นผล แข็งมากค่อนข้างหนา ภายนอกสีม่วงแดงหรือน้ำตาลคล้ำ ส่วนภายในจะเป็นสีเหลือง สีชมพู ตรงโคนจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะรูปลำโพง บริเวณปากลำโพงด้านในนั้นจะเป็นสีขาวอมเหลือง หรือสีขาวอมเขียว เกสรตัวผู้จะมีประมาณ 5 อัน ติดกับท่อดอก โคนก้านมีขน ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน มีท่อเกสรยาวประมาณ 4-6 ซม.  สีม่วงคล้ำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,835

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,637

ก้ามปู

ก้ามปู

ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,320

กระเจี๊ยบมอญ

กระเจี๊ยบมอญ

ต้นกระเจี๊ยบมอญเป็นไม้ล้มลุก สูง 5-2 เมตร มีขนทั่วไป ใบกระเจี๊ยบมอญเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 10-30 เซนติเมตร ปลายหยักแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 เส้นดอกกระเจี๊ยบมอญมีขนาดใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ มีริ้วประดับ (epicalyx) เป็นเส้นสีเขียว 8-10 เส้น เรียงเป็นวงรอบโคนกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง โคนกลีบสีม่วงแดง รูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดยาว 2-3 เซนติเมตร หุ้มเกสรเพศเมียไว้ อับเรณูเล็กจำนวนมากติดรอบหลอด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก ยอดเกสรเพศเมียเป็นแผ่นกลมขนาดเล็ก สีม่วงแดง ยื่นพ้นปากหลอดดอก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,216

เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่นๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,158

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,126

ตะขบ

ตะขบ

ต้นตะขบ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ตะขับหรือตะขบฝรั่งนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศพบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่งทั่วไป หรือมักขึ้นเองตามธรรมชาติที่นกและสัตว์ขนาดเล็กถ่ายมูลเมล็ดตะขบทิ้งไว้ สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยวิธีการเพาะเมล็ด ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 22,465

นนทรี

นนทรี

ต้นนนทรี เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,274

เสลดพังพอนตัวเมีย

เสลดพังพอนตัวเมีย

สลดพังพอนตัวเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถา มักเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง ต้นอ่อนเป็นสีเขียว ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นปล้องสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกเหง้าแขนงไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 17,096

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,256