วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้ชม 1,975

[16.500461, 99.515985, วัดฆ้องชัย]

         เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลกตั้งอยู่ระหว่างทางออกทั้งสองด้านของอุทยานประวัติศาสตร์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง คือทางด้านทิศใต้กับทิศตะวันตก นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกปรากฏบ่อศิลาแลงขนานไปกับแนวกำแพงของวัด ด้านหลังของวัดอยู่ระหว่าง วัดพระนอนกับวัดพระสี่อิริยาบถ โดยมีถนนคั่นกลางเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจที่สุดภายในวัดคือ มหาวิหารที่สูงกว่าทุกวัดในเขตอรัญญิก คือเป็นอาคารรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานล่างก่อเป็นฐาน หน้ากระดานมีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานหน้ากระดานล่างของวัดฆ้องชัย แตกต่างจากแห่งอื่นๆคือทำเป็นหน้ากระดานสูงถึง 2.10 เมตร นับว่าเป็นฐานเขียงหรือฐานหน้ากระดาน ของอาคารที่สูงที่สุดเท่าที่พบในเขตเมืองกำแพงเพชร มีบันไดขึ้นสองทาง ฐานวิหารข้างบนทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จหน้าหลัง ห้องโถงของพระวิหารมีขนาด 7 ห้อง แต่เมื่อรวมมุขทั้งหน้าและหลังแล้ว มี 9 ห้อง เป็นอาคารขนาดใหญ่มาก เสารับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลง แปดเหลี่ยม บริเวณชานชาลามุขหน้าเดิมประดับด้วยมกร(อ่านว่ามะกอน ) สัตว์ในนิยายคือมังกร เป็นมกร ดินเผาหรือมกรสังคโลก ซึ่งเนื่องจากการขุดแต่งในปี พ.ศ.2525 ได้พบชิ้นส่วนของมกรจำนวนมากในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถประกอบเป็นตัวมกรได้เกือบสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันตัวมกรแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร บนพระวิหารมีฐานพระประธานที่ใหญ่มาก แต่ไม่มีร่องรอยของพระประธานอยู่เลย
         
เจดีย์ประธานตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร ในแกนทิศทางเดียวกันเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยมและฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมที่หลดหลั่นซ้อนกันขึ้นมา ฐานบัวลูกแก้วอกไก่แปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยที่ทำเป็นบัวถลา 3 ชั้น ปัจจุบันองค์ระฆังและส่วนยอดหักพังจัดเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆังเล็กทำให้รูปทรงของเจดีย์สูงเพรียว ซึ่งเป็นรูปแบบของเจดีย์ในเมืองกำแพงเพชร ด้านหลังเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายขนาดเล็ก 4 องค์ เหลือเพียงแค่ฐานรูปทรงเดียวกับเจดีย์ประธาน ทั้งหมดเป็นเขตพุทธาวาส ซึ่งเป็นเขตที่ทำสังฆกรรม มีกำแพงกั้นระหว่างเขตพุทธาวาสกับเขตสังฆาวาส เขตสังฆาวาส คือบริเวณที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง เช่นศาลา กุฏิ บ่อน้ำ และเวจกุฎี (ห้องส้วม) ที่วัดฆ้องชัย มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกว้าง ยาว ประมาณ 4 เมตร ลึกประมาณ 10 เมตรแต่ไม่มีน้ำอยู่เลย บ่อน้ำอยู่ในบริเวณกุฎี หลังวัดมีศาลาขนาดใหญ่อยู่สองศาลา ต่อกัน มีห้องน้ำ ห้องส้วมอยู่ในอาคารซึ่งนับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้ามาก เป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ของกำแพงเพชร ที่ทำให้ห้องส้วมและห้องน้ำและไม่มีกลิ่นแม้จะอยู่ในอาคารก็ตาม เมื่อสมัยที่กำแพงเพชรยังไม่ถูกทิ้งร้าง วัสดุที่นำมาก่อสร้าง เป็นศิลาแลงทั้งหมด มาเป็นแกนกลาง ที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบร่องรอยการตัดศิลาแลงขึ้นมาใช้ในทุกวัด ที่เห็นชัดเจนในบริเวณ หน้าวัด พระสี่อิริยาบถ
             ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528

 

ภาพโดย : https://www.thai-tour.com/include/p_img/1/28/tt59def5c347ec9.jpg

คำสำคัญ : วัดฆ้องชัย

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2011/03/16/entry-2

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดฆ้องชัย. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=272

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=272&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิดมาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 1,194

วัดศรีโยธิน

วัดศรีโยธิน

หลวงพ่อศรีสรรเพชญ์วัดศรีโยธิน ที่วัดศรีโยธิน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดที่สร้างโดยรอ.ทำนอง โยธินธนสมบัติ ต่อมาท่านได้บวชและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส นาม หลวงพ่อทำนอง คุณังกะโร เมื่อท่านสร้างวัด ท่านนิมิตว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาเข้านิมิตและจะมาช่วยสร้างวัด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,183

วัดคูยาง

วัดคูยาง

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีปริศนาอยู่ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสืบหาได้ว่าวัดนี้มีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหนไม่มีใครสามารถหาคำตอบได้ แต่มีผู้สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี จนเข้าสู่สมัยของพระบามสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2394- 2399 ปัจจุบันได้มีพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,256

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,470

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,811

วัดสว่างอารมณ์

วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,820

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,211

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 1,984

วัดอาวาสใหญ่

วัดอาวาสใหญ่

เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า “บ่อสามแสน” และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,175

วัดซุ้มกอ

วัดซุ้มกอ

วัดนี้อยู่ริมถนน เมื่อผ่านไปจะเห็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดย่อมยอดหัก ซึ่งมองเห็นแต่ไกล โดยเฉพาะวัดนี้มีผู้พบพระพิมพ์เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายลักษณะตัว ก จึงเรียกว่าพระซุ้มกอ โบราณสถานของวัดนี้เป็นเจดีย์แบบทรงลังกายอดหัก มีคูน้ำล้อมรอบบริเวณอีกชั้นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,497