วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้ชม 9,853

[16.5080636, 99.5160231, วัดช้างรอบ]

       วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ที่สุด และสำคัญที่สุดในบรรดาวัดนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่บนเนินสูง เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงลังกา รูประฆังกลม มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์กว้าง 31 เมตร สี่เหลี่ยมที่ฐานเจดีย์เป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศีรษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูปใบโพธิ์ กับมีรอยตั้งรูปยักษ์และนางรำติดอยู่แต่ชำรุดหัก เห็นไม่สมบูรณ์ ทางขึ้นไปบนฐานทักษิณมีบันไดสี่ด้าน ตรงเชิงบันไดมีรูปสิงห์หักอยู่ที่ฐาน ฐานเจดีย์จากพื้นดินถึงลานทักษิณชั้นบนสูงประมาณ 7 เมตร กลางลานมีเจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยมฐานกว้างประมาณ 20 เมตร
       ลักษณะเป็นเจดีย์แบบลังกายอดหัก ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร ฐานสูงประมาณ 1.5 เมตร วิหารเป็นเสา 4 แถว 7 ห้อง มีมุขเด็จข้างหน้าหนึ่งห้อง ต่อจากวิหารใหญ่เป็นสระซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 23 เมตร สี่เหลี่ยมลึก ประมาณ 8 เมตร มีน้ำขังอยู่บางฤดู
       การที่นำช้างมาประดับเช่นนี้ อาจมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ในพุทธประวัติว่า ช้างเป็นสัตว์มงคลที่ช่วยค้ำชูพระพุทธศาสนาไว้ และอาจแสดงความหมายถึง ช้างที่ช่วยค้ำยันเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ จักรวาลอันเปรียบได้กับเจดีย์ประธาน รูปแบบการสร้างวัดช้างล้อมนั้น มีทั้งที่วัดในอำเภอสุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และที่วัดในจังหวัดกำแพงเพชร แต่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เรียกว่า วัดช้างรอบ ที่วิหารหน้าเจดีย์มีพระพุทธรูปปูนปั้นชำรุด โบราณสถานอื่นก็มี เจดีย์ราย กำแพงแก้วล้อมรอบชั้นหนึ่ง มีคูน้ำล้อมรอบนอก ห่างไปทางตะวันออกมีโบสถ์ที่มีน้ำล้อมรอบ เรียกว่า อุทกสีมา หรือนทีสีมา
       จากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่าง ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปหน้าเทวดา และหน้ามนุษย์ ซึ่งตามลักษณะโบราณวัตถุเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น หรือสุโขทัยตอนปลาย ทำให้ทราบลักษณะเครื่องแต่งตัว การฟ้อนรำและลักษณะอื่น ๆ ของคนสมัยสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะและโบราณคดี บรรดาโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
       ได้พบศิลาจารึกที่วัดช้างล้อม เขียนเล่าเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พ.ศ. 1905 – 1933 ว่า พนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางผู้จงรักภักดีต่อพระมหาธรรมราชาลิไท มีใจศรัทธาออกบวชตามพระมหาธรรมราชาลิไท และได้อุทิศที่ดินของตนสร้างวิหาร ในปี พ.ศ.1933 สร้างพระพุทธรูป หอพระไตรปิฎก ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุทิศบุญกุศล ถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว และสร้างพระพุทธรูปหินอุทิศบุญกุศลถวายแด่ มหาเทวี พระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาลิไทผู้เคยปกครองเมืองสุโขทัย

 

ภาพโดย : http://www.onep.go.th/cultural_environment/administrator/myfile/1000104u.jpg

คำสำคัญ : วัดช้างรอบ

ที่มา : http://www.dekguide.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดช้างรอบ. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=264

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=264&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,811

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,062

วัดสระแก้ว

วัดสระแก้ว

เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือ ระหว่างเส้นทางที่เข้าสู่เขตอรัญญิกของ เมืองกําแพงเพชร สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีเฉพาะฐานอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นอุโบสถเพียงหลังเดียว สร้างติดกับคลอง ส่งน้ำโบราณหรือที่เรียกว่าคลองท่อทองแดง เดิมจะมีคูน้ำล้อมรอบหรือที่เรียกว่าอุทกสีมา โดยน้ำจากคลองท่อ ทองแดงจะไหลเวียนรอบฐานอุโบสถ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,588

วัดเทพโมฬี

วัดเทพโมฬี

ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,422

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์   เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,782

วัดกะโลทัย

วัดกะโลทัย

ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ

 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,089

วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,137

วัดอาวาสใหญ่

วัดอาวาสใหญ่

เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ขุดลงไปในพื้นศิลาแลงกว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า “บ่อสามแสน” และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน วัดนี้อยู่ริมถนนสะดวกในการเข้าชม

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,175

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,025

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,579