ขนมเรไร

ขนมเรไร

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 5,523

[16.3349545, 99.3442154, ขนมเรไร]

        เป็นขนมหวานพื้นบ้าน ที่รู้จักกันดี

เครื่องปรุง ประกอบด้วย
        1. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
        2. แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ
        3. น้ำดอกไม้ 3/4 ถ้วยตวง
        4. หัวกะทิกรองแล้ว 1/2 ถ้วยตวง
        5. มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด 1/3 ถ้วยตวง
        6. รากถั่วบุบพอแตก 1/4 ถ้วยตวง
        7. น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วยตวง
        8. เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
        9. สีธรรมชาติ เช่น สีฟ้าคั้นจากน้ำผสมดอกอัญชัน สีเหลืองคั้นจากน้ำต้มกลีบดอกคำฝอย และสีม่วงคั้นจากลูกผักปรังสุก
        10. พิมพ์ขนมเรไร
       

วิธีปรุง
        เริ่มจากผสมแป้งข้าวเจ้าเข้ากับแป้งท้าวยายม่อมในกระทะทองเหลือง ค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อย นวดให้เข้ากัน จนแป้งมีลักษณะเหนียวหรืออย่างน้อยประมาณ 20 นาที หากต้องการให้เส้นขนมมีสีสวย ให้เติมน้ำสีในขั้นตอนนี้ แล้วเติมน้ำส่วนที่เหลือจนหมด ยกขึ้นตั้งไฟ กวนไปเรื่อยๆจนแป้งสุกจับตัวกันเป็นก้อน ล่อนจากกระทะ จึงยกลง พักไว้จนเย็น นวดต่อจนแป้งมีความเนียนนุ่ม แบ่งแป้งออกเป็นก้อนๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/2
 เซนติเมตร เอาผ้าขาวบางชุมน้ำคลุมไว้ไม่ให้แห้ง แล้วจึงนำแป้งแต่ละก้อน วางลงในเครื่องปั้นเส้น บีบออกมาเป็นเส้นเล็กๆ ทีละก้อน เขี่ยวางไว้ในรังถึง ปูด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำ บนไฟแรงจนสุกหรือประมาณ 3-4นาที ชะโลมด้วยหัวกะทิ แล้วแซะใส่จานพักไว้ ผสมงาคั่ว น้ำตาลทราย และเกลือเข้าด้วยกัน เวลาจะรับประทาน ให้จัดเส้นขนมเรไรใส่จาน โรยด้วยมะพร้าวทึนทึก ราดด้วยหัวกะทิที่ตั้งไฟแล้ว น้ำตาล เกลือและงาขาวคั่ว

ภาพโดย : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-wang-khang

คำสำคัญ : ขนมเรไร

ที่มา : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-wang-khang

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ขนมเรไร. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610008&code_type=01&nu=pages&page_id=646

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=646&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารทกล้วยไข่จากรากเหง้าสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

กระยาสารท ขนมไทยโบราณที่มีมาแต่ครั้นสมัยสุโขทัย เช่นเดียวกับข้าวมธุปายาสหรือข้าวทิพย์ที่คนไทยมักจะนิยมทำขึ้นในเทศกาลสารทไทย เพื่อถวายเป็นอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ กระยาสารทจึงกลายเป็นเครื่องบ่งชี้หรือแสดงออกถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม ความเชื่อที่คนไทยมีต่อพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันกระยาสารทกลายเป็นขนมไทยหายาก เนื่องจากมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยาก รวมกับความร้อนที่เกิดจากท่อนฟืน ทำให้คนในปัจจุบันหันมาซื้อรับประทานแทนที่จะทำกินเองภายในครอบครัว ดังเช่นครั้งในอดีต

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 895

ขนมเข่ง

ขนมเข่ง

ขนมเข่ง (ขนมตรุษจีน) ขนมเข่งเป็นขนมที่จะขาดไม้ได้ในเทศกาลตรุษจีน หรืองานมงคลต่างๆ มีความหมายเหมือนกับขนมเทียนคือ หวานชื่น ราบรื่น และอุดมสมบูรณ์ มีรสชาติหวานหอมเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม สามารถดัดแปลงได้หลากหลาย อาจเติมเนื้อมะพร้าวอ่อน หรือลูกชิดลงไปได้ สามารถเป็นไว้ได้นานในตู้เย็นมีวิธีการทำที่ง่ายมาก

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 4,042

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ เป็นขนมประเภทของว่าง รับประทานเล่นในชุมชนมานานแล้ว เนื่องจากกล้วยเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะกล้วยไข่ เป็นต้นไม้ที่พบมากในพื้นที่ของเมืองกำแพงเพชร ผู้อาวุโสของชุมชนหนองรี สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว กล้วยฉาบ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ต้องการนำผลไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปรรูปเพื่อจะได้เก็บไว้รับประทานได้นานๆ และไว้รับรองญาติมิตรหรือผู้มาเยี่ยมเยียน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 16,508

ข้าวเหนียวแดง

ข้าวเหนียวแดง

ข้าวเหนียวแดง หรือ ข้าวอีตู เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง จัดเป็นขนมกวนชนิดหนึ่งที่คนในชุมชนนิยมนำมาใช้ในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อถวายพระ ทำบุญและแจกจ่ายกันบริโภคในครัวเรือน ส่วนผสมประกอบด้วย ข้าวเหนียมดิบ 1,500 กรัม น้ำตาลปี๊บ 1,125 กรัม มะพร้าวขาวคั้นไม่ใส่น้ำ 8 ถ้วย แบะแซะ 375 กรัม ใบเตยหอม 10 ใบ เกลือสำหรับซาวข้าวเหนียม 1 ช้อนโต๊ะ งาขาวคั่วสำหรับโรยหน้า

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,558

ผลไม้เชื่่อม

ผลไม้เชื่่อม

เป็นรูปแบบหนึ่งของการถนอมและแปรรูปอาหาร โดยวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในผลไม้ และใช้ความร้อนทำให้สุก เพื่อให้เก็บไว้ได้นานและมีรสชาติอร่อย ผลไม้ที่คนในชุมชนนิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ สาเก มะยม มะตูม พุทรา สับปะรด จาวตาล กล้วย มะละกอ และเปลือกผลไม้บางชนิดที่พบมากในชุมชน เช่น เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เปลือกแตงโม เป็นต้น ลักษณะของผลไม้เชื่อมที่มีคุณภาพดี ต้องมีผิวตึงสวยเป็นมันเงา ไม่เหี่ยว น้ำตาลไม่ตกผลึก สีสันตามความเป็นจริงของผลไม้นั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 9,508

ส้มแผ่น

ส้มแผ่น

ในฤดูกาลที่ต้นมะม่วงออกผลมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริโภคผลสดได้หมด เริ่มจะมีมะม่วงสุกร่วงหล่นจากต้นมาก ไม่น่ามาใช้รับประทานผลไม้สดได้ วิธีดั้งเดิมของชาวบ้านก็มักจะนำมะม่วงสุกเหล่านี้มาทำ "ส้มแผ่น” ที่รสชาติอร่อย ออกหวานอมเปรี้ยว เพื่อเก็บไว้กินได้อีกนาน หากปีไหนทำส้มแผ่นกันมากเกินเก็บ ก็จะเอามาขายบ้าง เริ่มเกิดความคิดที่จะนำส้มแผ่นซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านมาเป็นสินค้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้ชื่อ "ส้มแผ่น” เป็นสินค้าของฝากและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ได้เลือกซื้อเป็นของฝากเสมอ

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 2,701

กล้วยกวนตองแก้ว

กล้วยกวนตองแก้ว

กล้วยน้ำว้าของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วย โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้ามีจำนวนมากมายสามารถที่จะให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้เอง ก่อให้เกิดแนวคิดสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าแปรรูปเพื่อนำออกขาย เช่น กล้วยอบ กล้วยอบกรอบ กล้วยม้วนนิ่ม นอกเหนือจากขายกล้วยสด หรือกล้วยตากเท่านั้นหนึ่งในสินค้า กล้วยน้ำว้า แปรรูปที่ว่านั้นก็ได้แก่กล้วยกวน ซึ่งกรรมวิธีค่อนข้างจะง่าย แต่ก็ต้องใช้เวลาและพละกำลังกันพอสมควร กล่าวคือเมื่อได้เนื้อกล้วยที่จำเป็นจะต้องสุกงอม เพื่อความสะดวกในการกวนแล้ว จะต้องนำมาบดอัดก่อนใส่กระทะกวนด้วยไฟร้อนๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,076

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ หาง่าย และมีอยู่มากมายในประเทศไทย ทุกภาคและทุกจังหวัดล้วนมีกล้วยอยู่แทบทั้งสิ้น เป็นที่รู้กันว่ากล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ ใบ ลำต้น และผล นอกจากนี้กล้วยมักจะเหลือจากที่รับประทานกันมาก ก็เลยมีการแปรรูปกล้วยหลายอย่าง เช่น กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยแขกทอด เป็นต้น

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 9,388

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ 3-5 ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง (1 วัน 1 คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ 4-5 วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13 เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง 1 แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ 120 องศา นาน 30 นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก 1 คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,861

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,260