พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 6,007

[16.4821705, 99.5081905, พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง]

          พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “
          จากข้อความนี้จะเห็นได้ว่า พระกำแพงว่านหน้าทองนั้นค่านิยมสูงมาตั้งแต่ต้น เพราะจากหลักฐานที่ปรากฏ พระว่านหน้าทอง เป็นพระเครื่องชั้นสูงของโบราณอย่างแท้จริง และมีจำนวนน้อยมากจึงเป็นพระที่หายาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระว่านหน้าทองที่สมบูรณ์หายากกว่าพระกำแพงทั้งหลาย เหตุที่หายากมากเพราะเป็นพระสร้างจำนวนน้อย ผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้มีหลักฐานว่าในสมัยโบราณการสร้างพระด้วยทองคำย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคลชั้นสูง ท้าวพระยา มหากษัตริย์ แม่ทัพ นายกอง หาใช่สำหรับชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปไม่เพราะทองคำเป็นโลหะธาตุที่มีค่าเป็นของสูงมาแต่ไหน
           หนังสือภาพพระเครื่อง ของ อ. ประชุม กาญจนวัฒน์ ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2508 และถือว่าเป็นหนังสือ พระกรุ เล่มครู ท่านได้มีการจัดอันดับค่านิยมของพระเครื่องไว้ท้ายเล่ม โดย พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ค่านิยมอยู่ในระดับเดียวกันกับ พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่ม พระกำแพงซุ้มกอดำ พระหูยานบัวสองชั้น และพระขุนแผนเคลือบทีเดียว
           พระกำแพงว่านหน้าทองส่วนใหญ่ที่พบกันมาก่อนที่จะมีการพบที่กรุวัดพระแก้วมักจะชำรุด และไม่สมบูรณ์ เนื่องจากว่าว่านเป็นวัตถุที่ย่อยสลายง่าย ส่วนมากว่านมักจะผุเปื่อนไปเสียก่อน และนอกจากจะสร้างจำนวนน้อยแล้ว สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระว่านหน้าทองยิ่งสูญหายไปสิ้น ก็คือสมัยที่นักขุดพระยุคคุณทวด ที่ไปขุดค้นเจดีย์ร้าง หรือ กรุต่างๆในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระเครื่องยังไม่มีราคามากเท่ากับทอง คนที่ขุดได้พระว่านหน้าทองต่างก็แกะลอกเอาแต่แผ่นทองไปรวมหลอมชั่งขาย เมื่อลอกเอาแผ่นทองบางๆออกแล้ว เนื้อว่านก็มักจะถูกทิ้งไว้ให้ผุพังเปื่อยยุ่ยไปตามธรรมชาติ อย่างน่าเสียดายยิ่ง พระว่านหน้าทองที่มีน้อยอยู่แล้วก็ยิ่งหายากขึ้นไปอีก
          เนื่องจากความหายากดังที่กล่าวมานี้ จึงไม่ค่อยเห็นพระว่านหน้าทองของแท้ หมุนเวียนในการซื้อขายเพราะคนที่เป็นเจ้าของก็หวงแหนเพราะเป็นพระเครื่องชั้นสูงดังที่กล่าวมา ยิ่งเป็นพระว่านหน้าทองพิมพ์สำคัญ เช่น กำแพงซุ้มกอ พลูจีบ เม็ดขนุน ด้วยแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยถ้าท่านได้มีโอกาสได้พบพระกำแพงว่านหน้าทองไม่ว่าจะพิมพ์ใดก็ตาม ขอให้เป็นพระแท้เท่านั้นก็ถือว่าท่านมีพระเครื่องสำคัญไว้อาราธนาบูชาชนิดที่เชื่อถือได้ในพุทธานุภาพแบบครอบจักรวาล

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/posts/709721262492304/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1167

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1167&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,483

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 12,657

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,401

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,524

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระเครื่องเนื้อโลหะกรุ

พระโลหะ เรียกว่า พระเนื้อชิน คำว่า พระเครื่อง คือเรียก พระชนิดที่สร้างโดยไม่มีแท่นฐานพระหรือขาตั้งพระทั่วๆ ไป จึงขอเขียนบรรยายพอสังเขปไว้ดังนี้ พระเครื่องรูปพิมพ์พุทธรูปลักษณะและเนื้อจะเป็นหัวใจในการศึกษาของ คำว่า พระเครื่อง พระพิมพ์จะเป็นพิมพ์เดียวกันแต่ละกรุพระจะแตกต่างกัน ฉะนั้นผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องจดจำพุทธลักษณะพิมพ์พระต่างๆ ของแต่ละกรุพระให้มาก พระเครื่องเนื้อชินใน 100 ส่วน เราได้ทราบมาแล้วว่าสร้างด้วยเนื้อเงินผสมดีบุกและตะกั่วแล้วเป็นผิวปรอทเสีย 99 ส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 12,177

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,876

วัดช้างกรุเก่า/กรุใหม่

วัดช้างกรุเก่า/กรุใหม่

ที่ตั้งกรุพระวัดช้าง อยู่ทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จากศาลหลักเมืองไป ถนนกำแพงพรานกระต่าย 150 เมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 200 เมตร วัดช้างกรุเก่า ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงลีลา พระกลีบบัวนาคปรก พระนางพญากำแพง พระซุ้มยอ พระกำแพงห้าร้อย พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพง พระซุ้มกระรอกกระแต และพิมพ์อื่นๆ ส่วนกรุใหม่ ประเภพพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอหน้ายักษ์มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอหน้าหนุ่มมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอแดง-ดำพิมพ์กลาง พระซุ้มกอหน้าแก่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอดำ-แดงไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนแดง 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,272

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499″… จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชร สร้างถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2499” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ …

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 3,578

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 12,168

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,981