ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 153,664

[16.4821705, 99.5081905, ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)]

           พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที
           ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ” 
           พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก
           พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี
           พระกำแพงซุ้มกอ ที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ
           พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย
           พระกำแพงซุ้มกอ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามหรือจะเป็นเนื้อดินเนื้อว่าน ตลอดจนเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด แล้วแต่ว่าท่านจะหาพิมพ์ไหนมาได้
           พระกำแพงซุ้มกอ จึงจัดว่าอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การหา และนำมาเพื่อเป็นศิริมงคล เป็นอย่างมากทีเดียว

ประวัติความเป็นมาของพระซุ้มกอ
          พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปี

พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก
พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ
เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้
เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน
เนื้อชินเงิน
เนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก
พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ
พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ
พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ
พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ
ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก
 
การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ
         เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ
 
พระซุ้มกอ พิมพ์มีกนก
         ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า " ลานทุ่งเศรษฐี " หรือโบราณเรียกว่า " เมืองนครชุมเก่า " บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก ขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง
         ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑล ที่ครอบเศยรองค์พระ เป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า " พระซุ้มกอ " พระกำแพงซุ้มกอ สันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสัน นั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก
 
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก      
         เป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียด ไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่าย เหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามา มีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ
 
ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระซุ้มกอ
พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก
พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
ซอกแขนลึก
ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน
พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย
 
มีกูไว้แล้วไม่จน คือถ้อยคำประจำองค์พระซุ้มกอ ซึ่งหมายถึง พระซุ้มกอสุดยอดทางโชคลาภ เมตตามหานิยม ใครมีไว้แล้วจะร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี เจริญรุ่งเรือง ในชีวิต ทำให้ผู้คนทั้งประเทศปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของพระซุ้มกอ การเช่าจึงอยู่ที่หลักล้านขึ้นไป พระซุ้มกอจึงกลายเป็น หนึ่งในเบญจภาคี หรือหนึ่งในจักรพรรดิแห่งวงการพระเครื่อง 

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : http://www.dopratae.com/บทความ/ประวัติ-พระซุ้มกอ-(พระกำแพงซุ้มกอ)-จ.กำแพงเพชร/54/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ). สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1157

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1157&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดหนองลังกา

กรุวัดหนองลังกา

จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,950

พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

"การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,741

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 6,807

กรุฤาษี

กรุฤาษี

ที่ตั้งกรุฤาษี อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 500 เมตร  ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระซุ้มกอ มีกนก พิมพ์เล็ก พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุน พิมพ์กลาง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระนางพญากำแพงเศียรโต พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 15,072

พระอู่ทองวังพาน

พระอู่ทองวังพาน

พระกำแพงอู่ทอง วังพาน หรือบางพาน เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยเมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า "พิมพ์เอารอยตีนอันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง" ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,999

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,216

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,847

การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ

เมื่อ พ.ศ.2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำหริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆกัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่า นจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,972

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,007

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 12,510