การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 5,441

[16.4854533, 99.494347, การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร]

              จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน 
              สมัยประวัติศาสตร์เริ่มจากสมัยสุโขทัย จุดเริ่มต้นการแต่งกายของสตรีชั้นสูงชาวกำแพงเพชรสัณนิษฐานจากรูปปั้นเทวสตรีที่พบบริเวณศาลพระอิศวร สมัยอยุธยาเท่าที่พบหลักฐาน พ.ศ. 2053 น่าจะมีจุดกำเนิดการแต่งกายจากเทวรูปพระ อิศวร และการแต่งกายของชาวอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยนั้น สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ พบจุดกำเนิดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ พระองค์เสด็จประพาสต้นเมือองกำแพงเพชร พ.ศ. 2449 ทรงถ่ายภาพชาวกำแพงเพชรจำนวนมาก
              ลักษณะของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากหลักฐานที่พบลักษณะการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรในสมัยสุโขทัย มีลักษณะคล้าย การแต่งกายของพวกขอมหรือเขมรโบราณ ต่อมาในสมัยอยุธยารัชสมัยของพระนารายณ์มหาราชมีชาวตะวันตกเข้ามามาก ได้รับอิทธิพลการแต่งกายจากชาวตะวันตกมากขึ้น โดยมีราชสำนัก ขุนนาง ข้าราชการเป็นผู้นำเข้ามา สำหรับลักษณะการแต่งกายของราษฎรในแต่ละสมัยไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์บ้านเมือง ฐานะและตำแหน่ง แต่ในปัจจุบันความเท่าเทียมทางสังคมตามการพัฒนาของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย มีส่วนทำให้การแต่งกายมีความเท่าเทียมกันประกอบกับค่านิยมต่างชาติ โดยเฉพาะตะวันตก จึงมีลักษณะการแต่งกายตามแฟชั่นและแต่งกายตามนโยบายรัฐ ในหมู่ของข้าราชการ สรุปลักษณะการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรมีดังนี้ 
              1.  แต่งกายตามฐานะ  
              2.  แต่งกายตามเทศกาล
              3.  แต่งกายตามนโยบายรัฐ
              4.  แต่งกายตามสภาพดินฟ้าอากาศ
              5.  แต่งกายตามค่านิยม
              6.  แต่งกายตามแฟชั่น
              7.  แต่งกายตามอาชีพ

              การแต่งกายที่สูญหายไป และสาเหตุของการสูญหาย
              การแต่งกายของหญิงสาวชาวกำแพงเพชร ที่สูญหายไปไม่นิยมใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ยัง มีบางคนต้องการฟื้นฟูจึงนำมาแต่งบ้างในโอกาสสำคัญ เช่น งานประเพณีสำคัญ กิจกรรมใน โอกาสพิเศษ ได้แก่ 
              1. การนุงผ้าซิ้นหรือผ้าถุงของหญิงสาว 
              2. การนุ่งโจงกระเบน ของผู้ชายและผู้หญิง
              3. การนุ่งผ้าจีบหน้านางของผู้หญิง
              4. การห่มผ้าสไบและผ้าแถบของผู้หญิง
              5. การสวมหมวกกะโล่ของผู้ชาย และกางเกงแพร ขณะออกนอกบ้าน
              6. เด็กผู้หญิงขณะแต่งเครื่องแบบนักเรียน
              7. การไว้ผมจุกของเด็กผู้หญิง
              8. การสวมตะปิ้งของเด็กผู้หญิง
              9. การสวมกำไลลูกกระพรวนข้อมือและข้อเท้าของเด็กเล็กที่หญิงและชาย
              10. การนุ่งและโพกผ้าขาวม้าของผู้ชาย
              11. การนุ่งกางเกงจีนของผู้ชาย

              สาเหตุของการสูญหาย 
              1. ไม่สะดวก ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน 
              2. นิยมการแต่งกายตามแฟชั่น ซึ่งมีสื่อหลากหลายที่เผยแพร่อย่างรวดเร็วทั่วถึง
              3. ค่านิยมตะวันตก 
              4. ความทันสมัยของเทคโนโลยี
              5. ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย
              6. ล้าสมัย

              การกำเนิดการแต่งกายในปัจจุบัน มีการกำเนิด ลักษณะและสาเหตุดังนี้ 
              1. แต่งกายในสมัยเก่าล้าสมัยไม่เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่มีความเจริญในทุก ๆ ด้าน เช่น การคมนาคม สมัยโบราณไปมาหาสู่กันด้วยการเดินเท้า ใช้สัตว์เป็นพาหนะ การแต่งกายไม่ต้องรัดกุมมากนัก 
              2. ความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้การติดต่อสื่อสารได้สะดวกรวดเร็ว การลอกเลียนแบบการแต่งกายของตะวันตกทำได้ง่ายมากขึ้น 
              3. ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป 
              4. การประกอบอาชีพหลากหลายมากขึ้น 
              5. ความเท่าเทียมทางสังคมตามการพัฒนาของรัฐธรรมนูญ ทำให้ทุกคนมีสิทธิในการแต่งกาย ไม่แยกชนชั้น แต่งตามฐานะทางเศรษฐกิจ

ภาพโดย : http://www.kamphaengphet.go.th/kp/images/stories/flexicontent/item_273_field_19/l_25590411-1.jpg

คำสำคัญ : การแต่งกาย

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NH.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=01&nu=pages&page_id=152

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=152&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,637

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,581

ประเพณีงานบวช

ประเพณีงานบวช

งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธสาสนาสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติการมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 26,602

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,858

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,935

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 926

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไหว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร

ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร โดยตำนานการเผาข้าวหลามของชาวนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2 ของทุกปี ช่วงนี้เกษตรกรชาวนาชาวไร่ เสร็จจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวและถั่ว ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าวใหม่และถั่วที่ได้จากการเพาะปลูกมาทำบุญ ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับแม่โพสพ และพิธีเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร และชาวบ้านในชนบท กระบวนการผลิตข้าวหลามเริ่มตั้งแต่การเตรียมข้าวเหนียว ถ้าเป็นข้าวใหม่จะอร่อย สำหรับการทำข้าวหลามของชาวนครชุม เป็นการเผาข้าวหลามแบบท้องถิ่นในสมัยดั้งเดิมทำกันมาโดยการตั้งเผากับดิน 

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,964

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืด โดยมีความเชื่อที่ว่า การปรุงแกงขี้เหล็กเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ก่อนหน้าการลอยกระทงเพียง 12 ชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาคอยรักษา จึงต้องทำพิธีนี้ขึ้นเพื่อขออนุญาตนำดอกขี้เหล็กและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารและต้องแกงขี้เหล็กให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง 

เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 2,916

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่

ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,703

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 4,725