ตลาดชาวบ้าน

ตลาดชาวบ้าน

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้ชม 2,039

[16.4831829, 99.4917312, ตลาดชาวบ้าน]

          ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น
          แผนผังการจัดงาน เป็นรูปแบบของชาวบ้าน ที่มีตลาด อาหารการกิน การแสดง และบรรยากาศ แบบไทยดั้งเดิม เป็นการจำลองได้อย่างเหมาะสม มีการใช้เงิน โบราณในการซื้อข้าวของ ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนานและเป็นกันเอง เนื่องจากได้รับการสนใจ จากประชาชนค่อนข้างมาก สินค้าทุกอย่างหมดสิ้นภายใน หนึ่งชั่วโมงอาจเพราะเป็นสิ่งแปลกใหม่ในกำแพงเพชร
         ในการจัดงานด้านวัฒนธรรม ทุกงานของเมืองกำแพงเพชร สมควรจัดให้มีลักษณะนี้เพื่อพัฒนารูปแบบ ให้เป็นรูปแบบของกำแพงเพชร การทำงานอาจมีการลงทุนที่ไม่สามารถ ทำเงินให้คุ้มทุนได้ แต่สิ่งที่ได้รับทางจิตวิญญาณ ทางสังคม ทางวัฒนธรรม นั้นคุ้มค่ามากกว่าในอนาคต ทำให้คนกำแพงเพชร ได้รำลึกถึงการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ในรูปแบบที่เห็น ไม่หลงระเริงไปกับวัฒนธรรมตะวันตกที่ไหลมาอย่างไม่สามารถปิดกั้นได้ จิตสำนึกเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ ือสิ่งที่จะปิดกั้นความหายนะที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศชาติในอนาคต เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ถ้ามีเวลามากอาจพัฒนารูปแบบให้งดงาม และสมจริง ยิ่งใหญ่กว่า ที่จัดในวันนี้
         พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชรครบร้อยปี มุ่งสร้างจิตสำนึก ว่า แผ่นดินกำแพงเพชรเป็นแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เมื่อหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมาพระปิยมหาราช ได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่แผ่นดินกำแพงเพชร สร้างความเป็นมงคล ต่อชาวกำแพงเพชรสืบมา ชั่วนิจนิรันดร์ เราสมควรปลุกจิตสำนึก คนกำแพงเพชรให้ตระหนักถึงความสำคัญของ แผ่นดินกำแพงเพชรที่ผูกพันกับพระพุทธเจ้าหลวงด้วยวิธีการนานาชนิดอนาคตของเยาวชนและประชาชนในกำแพงเพชรจะดีขึ้น อย่างแน่นอนทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

ภาพโดย : https://www.google.co.th/search?

 

คำสำคัญ : ตลาดย้อนยุด ตลาด

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06/06G.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ตลาดชาวบ้าน. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=01&nu=pages&page_id=146

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=146&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,835

ตักบาตรข้าวต้ม

ตักบาตรข้าวต้ม

ประเพณีตักบาตรข้าวต้ม หรือ ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันมานานแล้ว ข้าวต้มลูกโยน เป็นอาหารหวาน ทำจากข้าวเหนียวที่นำมาผัดกับกะทิ คล้ายกับการทำข้าวต้มมัด แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก ใส่ไส้กล้วย ถั่วดำ แล้วห่อด้วยใบเตย ใบมะพร้าว หรือใบกล้วย แต่ปลายด้านหนึ่งทำเป็นกรวยม้วนพับจนหุ้มข้าวเหนียว ปล่อยชายอีกด้านหนึ่งไว้ แล้วจึงมัดด้วยตอก ก่อนนำไปนึ่งให้สุก 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,417

ประเพณีวันออกพรรษา

ประเพณีวันออกพรรษา

การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,788

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 5,622

ประเพณีการตาย

ประเพณีการตาย

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนจะต้องประสบและไม่สามารถหลีกหนีจุดจบของชีวิตได้ ประเพณีไทยมีพิธีกรรมในการจัดการกับศพเพื่อแสดงถึงความรักและอาลัยให้แก่ผู้ตายและเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุขคติ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,244

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 988

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,772

ลิเกป่า

ลิเกป่า

เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,037

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,450

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,136