ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้ชม 4,731

[16.4258401, 99.2157288, ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง]

       ในสมัยแผ่นดิน พระเจ้าลิไทหรือพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงสุโขทัย เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาก มีการประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วทุกหัวระแหง จากศิลาจาลึกนครชุมที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ทราบว่าได้มีการอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกามาบรรจุไว้ ในองค์เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเจดียาราม ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมทั้งได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกไว้ที่ด้านหลังองค์เจดีย์ด้วย ซึ่งปรากฏให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้          
       งานประเพณีนบพระ เล่นเพลง เป็นงานประจำปีของจังหวัดกำแพงเพชร โดยจะจัดขึ้นในวันมาฆบูชาหรือวันเพ็ญเดือนสาม ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี เพื่อเป็นการฟื้นฟูและเผยแพร่งานประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากสุโขทัย โดยจังหวัดกำแพงเพชรได้ฟื้นฟูประ เพณีนบพระเล่นเพลงขึ้นในปี พ.ศ.2526 ด้วยการจัดขบวนแห่พยุหยาตราจำลองไปนบพระ และเวียนเทียนพระบรม ธาตุเจดีย์ และได้มีการแสดงการละเล่น เล่นเพลงกันเป็นที่เอิกเกริก รวมทั้งจัดให้มีการแสดงแสงสีเสียงถึงประวัติความเป็นมา ของการตั้งบ้านแปลงเมือง นอกจากนี้ยังได้มีการแสดงมหรสพ ศิลปวัฒนธรรมไทย และมีการออกร้านแสดงสินค้าหัตถกรรม ท้องถิ่นของส่วนราชการและเอกชน การออกร้านของเหล่ากาชาดจังหวัดประจำปี การแสดงแสงสีเสียง ชมขบวนแห่นมัสการ พระบรมธาตุเจดีย์
       จัดขึ้นในระหว่างวันมาฆบูชาหรือวันเพ็ญเดือนสาม ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการฟื้นฟูงานประเพณีดั้งเดิมตามหลักฐานในศิลาจารึกเมืองพระชุม หรือเมืองนครชุม ที่กล่าวถึงการจัดขบวนแห่ไปนบพระมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ขบวนจะข้ามแม่น้ำปิงไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ที่ฝั่งนครชุม มีการแสดงมหรสพ ศิลปวัฒนธรรมไทย และการออกร้านของส่วนราชการและเอกชน ตั้งแต่สมัยโบราณ บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นที่ตั้งของเมืองต่างๆ หลายเมือง เช่น เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร และเมืองพาน ต่อมาในภายหลังเมืองต่างๆ ได้ล่มสลายไปตามความเปลี่ยนแปลงของระบบการปกครองและกาลเวลาจนกระทั่งเหลือแต่เมืองชากังราวและกลายเป็นจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าลิไทหรือพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงสุโขทัย เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธรุ่งเรืองมาก มีการประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปทั่วทุกหัวระแหง จากศิลาจาลึกนครชุมที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ทราบว่าได้มีการอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกามาบรรจุไว้ในองค์เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเจดียาราม ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมทั้งได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกไว้ที่ด้านหลังองค์เจดีย์ด้วย ซึ่งปรากฏให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้ เป็นประเพณีของชาวไทยสมัยโบราณ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสามหรือวันมาฆบูชา เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดินก็จะนำผู้ครองนครเจ้าเมืองน้อยใหญ่ พร้อมทั้งเหล่าไพร่ฟ้าข้าราชบริพารและประชาชน จัดตกแต่งขบวนเป็นพยุหยาตรา พากันไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ วัดพระบรมธาตุ เป็นประจำ เรียกสั้นๆ ว่าพากันไป “นบพระ” และเนื่องจากการเดินทางติดต่อคมนาคมในสมัยก่อนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องเดินทางด้วยเท้า พาหนะก็มีแต่ช้าง ม้า วัว ควาย และเกวียนเท่านั้น กว่าจะเดินทางไปถึงและนมัสการพระบรมธาตุเสร็จเรียบร้อยก็มืดค่ำ จึงจำเป็นต้องค้างพักแรมกันในบริเวณวัดต่อจนรุ่งเช้าของอีกวันหนึ่งจะได้กลับ เป็นธรรมดาของชาวไทยทั่วไป ซึ่งมีอารมณ์ศิลปินประจำใจ เมื่อมาอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาจากต่างท้องถิ่นกันด้วย จึงจัดการแสดงการละเล่นต่างๆ ประกวดประชันแข่งขันกันตามขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละหมู่บ้านเรียกกันว่า “เล่นเพลง


คำสำคัญ : นบพระ-เล่นเพลง

ที่มา : http://www.finearts.go.th/kamphaengphetmuseum/ข่าวประชาสัมพันธ์/ข่าวประชาสัมพันธ์/item/ความเป็นมางานนบพระ - เล่นเพลง - ประจำปี 2554

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง. สืบค้น 19 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=01&nu=pages&page_id=132

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=132&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว

ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,501

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,582

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หมายถึง การที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให่รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 8,322

วัฒนธรรมข้ามโลก

วัฒนธรรมข้ามโลก

ความรักและบุเพสันนิวาส เป็นสิ่งที่ไม่มีคำตอบและคำถาม ว่าทำไมคนสองคนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลก จึงมีโอกาสได้อยู่ด้วยกัน ได้รักกัน ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะโลกไร้พรมแดนอย่างจริงจัง การที่สาวไทยไปแต่งงานกับคนต่างชาติ มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย พม่า กะเหรี่ยง เวียดนาม ลาว หรือชาติบ้านใกล้เรือนเคียง ปัจจุบันยุโรปและอเมริกา คนละซีกโลก แต่เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็ลัดฟ้ามาพบกันได้ เราจึงเรียกเขยฝรั่งเหล่านี้ว่า สานสัมพันธ์วัฒนธรรมข้ามโลก ดำเนินการโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 971

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 646

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง

ประเพณีไข่แดง (ขึ่มสึ ขึ่มมี๊อ่าเผ่ว)มีขึ้นภายหลังจากที่มีการอยู่กรรมจากการเผาไฟในไร่ช่วงกลางเดือนเมษายน ตรงกับเดือนอาข่า "ขึ่มสึ บาลา"อาข่าจะประกอบพิธี "ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อาเผ่ว" เป็นประเพณีการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีปีใหม่ชนไข่ เนื่องจากประเพณีนี้มีการนำไข่มาใช้ประกอบพิธี เด็กๆ จะมีการเล่นชนไข่ โดยการย้อมเปลือกไข่ให้เป็นสีแดง และใส่ตะกร้าห้อยไปมา เป็นประเพณีที่มีมาช้านาน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,463

เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร

เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร

เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานด่วนยอดนิยมของคนกำแพงเพชร ทั้งก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ และผัดไท ทางจังหวัดจึงได้จัดงานมหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร ดังกล่าวขึ้นเป็นประ จำทุกปี กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายอาหารและก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเลือกได้ตามใจชอบ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,576

ประเพณีการเกิด

ประเพณีการเกิด

ระยะตั้งท้องผู้เป็นแม่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเชื่อถือหลายอย่าง เช่น ให้นำดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินจะทำให้เด็กในท้องแข็งแรง เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มมากลัดที่ชายผ้า จะทำให้เด็กเกิดมาอาการครบ 32 และให้นั่งถัดบันไดจะทำให้คลอดง่าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,701

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,314

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

วัฒนธรรมการกินหมากของคนไทย

ความงามของนางในวรรณคดีของไทยทุกเรื่อง นางเอกต้องมีฟันดำราวกับนิล จึงจะถือว่างดงาม ดังนั้นการกินหมากจึงอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และกำลังจะสูญหายไปจากสังคมไทยในไม่กี่ปีข้างหน้า เพราะคนไทยทุกคนเลิกกินหมาก เราจึงบันทึกวิถีชีวิตของคนไทยในอดีตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพื่ออนุชนที่รักของเราได้เข้าใจในวัฒนธรรมการกินหมาก การกินหมากในสังคมไทยมีมาหลายศตวรรษ ประเทศในแถบตะวันออกใช้หมากเป็นเครื่องดับกลิ่นปากและทำให้ฟันคงทน จากวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ มีคำว่า สลา ซึ่งหมายถึงหมากปู่เจ้าสมิงพราย เสกหมากให้พระลอเสวย ที่เรียกกันว่าสลาเหิน หรือหมากบิน

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,194