ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา
ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา

ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา

งานวิจัย
ลำดับที่ 1. ปี พ.ศ. 2565 หัวหน้าโครงการ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์เชิงระบบสำหรับนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2564)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
-

บทคัดย่อ
-

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
-

ปี พ.ศ. 2564-2565

คณะผู้วิจัย
1. ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา หัวหน้าโครงการ

ลำดับที่ 2. ปี พ.ศ. 2561 หัวหน้าโครงการ
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
The Result of Achievement Learning by using Brain Base Learning in Learning Management Subject of Student in Faculty of Education, Kamphaengphet Rajabhat University

บทคัดย่อ
การศึกษามีบทบาทในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ดังปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งจัดการศึกษาให้เป็นไปเพื่อพัฒนาไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) โดยมีวิสัยทัศน์ให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ภายในปี 2561 จะต้องมีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบใน 3 ประเด็นหลักคือ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งนี้ได้กำหนดกรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบไว้ 4 ประการ คือ 1) การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ 2) การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ 3) การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และ 4) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553, หน้า 1)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
-

ปี พ.ศ. 2560-2561

คณะผู้วิจัย
1. ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา หัวหน้าโครงการ

ลำดับที่ 3. ปี พ.ศ. 2561 หัวหน้าโครงการ
รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงผลิตภาพทางการศึกษา ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 (Thailand Education 4.0. (2560)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
Instruction model to promote creative thinking related to productivity of education for student at the faculty of Education Kamphaeng Phet Rajabhat University to Thailand Education 4.0

บทคัดย่อ
การขับเคลื่อนความมั่งคั่งของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยเกษตรกรรม พัฒนาไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนักตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนผ่านจากโมเดลประเทศไทย 3.0 เป็น “โมเดลประเทศไทย 4.0” เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งปรับเปลี่ยนจากประเทศ “รายได้ปานกลาง” เป็นประเทศ “รายได้สูง” ปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย “ประสิทธิภาพ” เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย“นวัตกรรม” โมเดลประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย “กลไกการขับเคลื่อน” ชุดใหม่ (New Growth Engine) ประกอบด้วย 3 กลไกสำคัญ คือ 1. กลไกขับเคลื่อนผ่านการสร้างและยกระดับผลิตภาพ (Productive Growth Engine) 2. กลไกขับเคลื่อนที่คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Growth Engine) และ 3. กลไกการขับเคลื่อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Green Growth Engine) ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 4.0” จำเป็นจะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ จากเดิมที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบให้มีความได้เปรียบในเชิงแข่งขันเพื่อเปลี่ยนจากโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “สร้างมูลค่า” ซึ่งประกอบด้วย 5 กลุ่มหลักๆ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
-

ปี พ.ศ. 2560-2561

คณะผู้วิจัย
1. ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา หัวหน้าโครงการ

ลำดับที่ 4. ปี พ.ศ. 2562 หัวหน้าโครงการ
รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 (Thailand Education 4.0). (2559)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
A Model of the Development of Teachers’ Instructional Management into Thailand Education 4.0

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่ การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 2. พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 50 คน ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพบริบทสภาพปัญหาการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 2. รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 และ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 พบว่า สภาพปัญหาการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 อยู่ในระดับมาก 2. ผลการพัฒนารูปการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 พบว่า 2.1 ผลการพัฒนาร่างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 รูปแบบมีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2. เนื้อหาของรูปแบบ 3. ระยะเวลาและกระบวนการของรูปแบบ 4. กิจกรรม 5. สื่อ และแหล่งเรียนรู้ และ 6. การวัดและประเมินผล 2.2 ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนการสอนสู่การศึกษาไทยแลนด์ 4.0 พบว่า โดยรวมเห็นด้วยในระดับมากที่สุด

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
A Model of the Development of Teachers’ Instructional Management into Thailand Education 4.0

ปี พ.ศ. 2559-2562

คณะผู้วิจัย
1. ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา หัวหน้าโครงการ

ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนา

ผศ.ดร.ขวัญชัย ขัวนา
โพสต์

บุคลากร