อาจารย์ดร.พิมพ์นารา บรรจง
อาจารย์ดร.พิมพ์นารา บรรจง

อาจารย์ดร.พิมพ์นารา บรรจง

งานวิจัย
ลำดับที่ 1. ปี พ.ศ. 2563 ผู้ร่วมวิจัย
การศึกษาการจัดการเมืองต้นแบบมรดกโลกสากลสู่เมืองมรดกโลกชากังราว. (2562)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
-

บทคัดย่อ
-

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
-

ปี พ.ศ. 2562-2563

คณะผู้วิจัย
1. ผศ.การันต์ เจริญสุวรรณ หัวหน้าโครงการ
2. อาจารย์ดร.พิมพ์นารา บรรจง ผู้ร่วมวิจัย
3. ผศ.ดร.พลอยณัชชา เดชะเศรษฐ์ศิริ ผู้ร่วมวิจัย

ลำดับที่ 2. ปี พ.ศ. 2562 ผู้ร่วมวิจัย
โภชนเภสัชของข้าวพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดกำแพงเพชรที่เหมาะสมกับ วัยเรียน วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ. (2561)

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
Nutraceutical of Local Rice Cultivar at KamphaengPhet Province Suitable for School age Working age and Elderly people

บทคัดย่อ
คนไทยกินข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวเป็นพืชอาหารหลักของโลก ประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ละปีทั่วโลกต้องการข้าวอย่างน้อย 617 ล้านตัน ข้าวดังกล่าวได้จากพื้นที่ปลูกข้าวซึ่งกระจายอยู่ในทุก คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 958 ล้านไร่ โดยที่ประมาณ ร้อยละ 90 มีการผลิตและบริโภคอยู่ในทวีปเอเชียนอกจากนี้ข้าวยังเป็นอาหารที่สำคัญของคนมานานตั้งแต่โบราณแล้วและรับประทานข้าวกันทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชียรับประทานข้าวกันทั่วไปเรียกได้ว่าเป็นอาหารหลัก ข้าวในโลกนี้มีหลายพันธุ์แตกต่างกันมากมาการปลูกข้าวในประเทศไทยมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับระบบนิเวศ เช่น ปลูกในที่ราบลุ่ม จนถึงภูเขาสูง นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างของวิถีชีวิต สังคม และวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดความหลากหลายของพันธุ์ข้าวต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้มากมาย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
-

ปี พ.ศ. 2561-2562

คณะผู้วิจัย
1. ผศ.วสุนธรา รตโนภาส ผู้ร่วมวิจัย
2. อาจารย์ราตรี บุมี ผู้ร่วมวิจัย
3. อาจารย์ดร.พิมพ์นารา บรรจง ผู้ร่วมวิจัย

ลำดับที่ 4. ปี พ.ศ. 2565 ผู้ร่วมวิจัย
การสร้างฐานข้อมูล นวัตกรรม และการใช้ประโยชน์จากการละเล่นพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร. (2564)

บทคัดย่อ
รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศใน ระยะยาวเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งหนึ่งในประเด็นเร่งด่วน ๕ ปีแรกของยุทธศาสตร์ชาติ คือ สังคมสูงวัย หนึ่งในความต้องการ 6 ด้านของผู้สูงอายุ คือ ความต้องการด้านสังคม คือ ความต้องการได้รับการ ยอมรับจากครอบครัวและสมาชิกของกลุ่มต่างๆ ทางสังคม เนื่องจากจะทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตัวเองยังคงมีความสำคัญและเป็นที่ต้องการของครอบครัว ถ้าผู้สูงอายุได้มีการพบปะสังสรรค์กับคนในวัยเดียวกันจะทำให้ผู้สูงอายุมีการเรียนรู้ มีการดูแลตัวเอง และมีความสามารถในการใช้ชีวิตด้วยตนเองได้ดีขึ้น (Lertchanyarak, Oranuj, 2010, pp. 5) ซึ่งจังหวัดกำแพงเพชรเองก็ได้ตระหนักถึงปัญหาและความต้องการทางด้านสังคมของผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน การละเล่นพื้นบ้าน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติเพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และรักในคุณค่าในศิลปะไทยในแขนงนี้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มการทำกิจกรรมที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสร้างความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในจังหวัดกำแพงเพชรก็มีการละเล่นพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง อาทิ ระบำก.ไก่ รำคล้องช้าง และรำวงพื้นบ้าน เป็นต้น ซี่งมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาให้เกิดเป็นนวัตกรรมการละเล่นพื้นบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และเสริมสร้างให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุผ่านการละเล่นพื้นบ้านด้วยเช่นกัน จากความเป็นมาและความสำคัญข้างต้นจึงเกิดเป็นคำถามการวิจัยครั้งนี้ก็คือนวัตกรรมในการช่วยเหลือการดำรงชีวิต (Assisted Living) ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานสากลเป็นอย่างไร อันจะนำไปสู่การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการดำรงชีวิตได้อย่างมีศักยภาพสูงสุดสืบไป

ปี พ.ศ. 2564-2565

คณะผู้วิจัย
1. อาจารย์ดร.พิมพ์นารา บรรจง ผู้ร่วมวิจัย
2. รศ.ดร.ศุภโชคชัย นันทศรี หัวหน้าโครงการ
3. อาจารย์ธนัฐธนสร ชัยรักษ์นิธิภัทร ผู้ร่วมวิจัย

ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนา

อาจารย์ธนัฐธนสร ชัยรักษ์นิธิภัทร
โพสต์

บุคลากร