Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20231026151802

ชื่อเรื่อง

รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด

ชื่อเรื่องรอง

A MODEL FOR ENHANCE ACHIEVEMENT OF ANUBAN KOKUT SCHOOL UNDER TRAT PRIMARY EDUCATION OFFICE

ผู้แต่ง

นิกร ผงทอง

ปี

2563

หัวเรื่อง

การบริหาร

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การจัดการเรียนการสอน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Methodology) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางเพื่อกําหนดกรอบแนวคิด ในการวิจัย การสร้างเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยการวิจัยครั้งนี้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการหรือครูวิชาการในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 142 คน ได้มาโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปคํานวณจํานวนกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จากนั้นทําการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้เทคนิคการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ระยะที่ 2 เป็นการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูดสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด เป็นการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ และสร้างคู่มือยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด 3 กระบวนการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และบทที่ 4 กระบวนการวิเคราะห์ และระยะที่ 3 เป็นการศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผูปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด จํานวนทั้งสิ้น 38 คนผู้วิจัยขอสรุปผลการวิจัย ดังนี้ 1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามี 8 องค์ประกอบ คือ การมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ การกําหนดเกณฑ์/คาาเป้าหมาย การสร้างกลยุทธ์ การวางแผน การพัฒนาครู การจัดการเรียนการสอน และการนิเทศ กํากับ ติดตาม โดยความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ประกอบด้วยกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการยกระดับทั้ง 6 กระบวนการ ได้แก่ การวิเคราะห์ (Analysis) การสร้างกลยุทธ์ (Strategy) การวางแผน (Plan) การลงมือปฏิบัติ (Do) การทบทวนสะท้อนผล (See) และ 6) การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Redesign) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้นํารูปแบบดังกล่าวไปสร้างคู่มือ พบว่าผลการประเมินคู่มือการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด มีดังนี้ 3.1 ผลการเปรียบเทียบกับเป้าหมายของการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในปีการศึกษา 2561 กับ ปีการศึกษา 2562 มีดังนี้ 1) ผลคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบระดับโรงเรียนสูงกว่าระดับประเทศ 2 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายที่กําหนดไว้ 2) ผลคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบในปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 จํานวน 2 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายที่กําหนดไว้ 3) จํานวนนักเรียนที่ได้รับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 ในปีการศึกษา 2562 โดยมีจํานวนนักเรียนที่ได้รับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50 ในปีการศึกษา 2562 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2561 จํานวน 2 วิชา ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมายที่กําหนดไว้ 3.2 ความพึงพอใจของความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนอนุบาลเกาะกูด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

A67-27.pdf