Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20231026125612

ชื่อเรื่อง

เชือกกล้วยฟั่น จากหัตถกรรมสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์

ชื่อเรื่องรอง

Banana Rope : From Handicraft to Product Development

ผู้แต่ง

พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์

ราชัน แพ่งประเสริฐ

ปี

2560

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การพัฒนางานผลิตภัณฑ์หัตถกรรม นอกเหนือจากบทบาทของนักพัฒนาชุมชน นักวิจัยและนักออกแบบ ในการประสานและช่วยเหลือ สร้างแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความหลากหลายของรูปแบบผลิตภัณฑ์ทางเลือกแล้ว การส่งเสริมให้กลุ่มชุมชนสามารถใช้ทุนทางสังคม ในการนำวัสดุในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นใกล้เคียงมาประสาน ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมรูปแบบใหม่ จากการสร้างเครือข่ายร่วมกันระหว่างกลุ่มหัตถกรรมชุมชนภายในพื้นที่ ให้สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมทางเลือกให้หลากหลาย เป็นการกระจายรายได้แก่กลุ่มชุมชนข้างเคียง ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนยกตัวอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานหัตถกรรมเชือกกล้วย จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มชุมชนสามารถสร้างสรรค์ และประดิษฐ์เชือกกล้วยขึ้นมาได้จากวัสดุที่ตนเองมีในท้องถิ่น แต่ด้วยข้อจำกัดทางกลุ่มชุมชน ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากงานหัตถกรรมเชือกกล้วยนั้นไม่หลากหลาย การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่มีความหลากหลายนั้น นอกจากการสร้างองค์ความรู ้ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนแล้ว การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการสร้างเครือข่ายด้านงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมก็มีความสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ จากการผสานกันของภูมิปัญญาของหัตถกรรมชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น การผสานกันระหว่างกลุ่มงานหัตถกรรมเชือกกล้วยกับกลุ่มเครื่องเรือนหัตถกรรม จังหวัดกำแพงเพชร ก็จะทำให้เกิดเป็นงานสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนหัตถกรรมโดยมีเชือกกล้วยฟั่นเป็นส่วนประกอบเพื่อสื่อถึงความเป็นจังหวัดกำแพงเพชร หรือการผสานกันระหว่างกลุ่มงานหัตถกรรมเชือกกล้วย กับกลุ่มกระดาษจากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อการประยุกต์พัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติจังหวัดกำแพงเพชร ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มหัตถกรรมใกล้เคียง ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจึงไม่ได้หมายถึงการพัฒนาเฉพาะกลุ่มชุมชนใดชุมชนหนึ่งอย่างเดียวเท่านั้น แต่หากสามารถสร้างเครือข่ายหัตถกรรมชุมชนให้แต่ละชุมชนสามารถช่วยเหลือเกื้อกูล และส่งเสริมกันและกันได้นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมความยั่งยืนภายในพื้นที่หัตถกรรมชุมชนนั้นๆ

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

A67-17.pdf