Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20231025133915

ชื่อเรื่อง

รูปแบบการทำงานเป็นทีมสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ชื่อเรื่องรอง

Teamwork Model for Excellence in Extra-Large Schools, Office of the Basic Education Commission

ผู้แต่ง

จิรัฏฐ์ สีห์งามพิมล

ปี

2565

หัวเรื่อง

การทำงานเป็นทีม

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ความเป็นเลิศ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของทำงานเป็นทีมสู่ความเป็นเลิศ สภาพ ปัญหาการทำงานเป็นทีมสู่ความเป็นเลิศ และปัจจัยการทำงานเป็นทีมสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ (2) พัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (3) ประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงาน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และนักวิชาการ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การ
สัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ และการประชาพิจารณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบของการท างานเป็นทีมสู่ความเป็นเลิศ มี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เป้าหมายของทีมที่ชัดเจน 2) การสื่อสารที่ดี เปิดเผย 3) ความร่วมมือและการมีส่วนร่วม 4) ความไว้วางใจและการยอมรับนับถือ 5) ภาวะผู้น าที่เหมาะสม 6) การแก้ไขความขัดแย้ง 7) การตัดสินใจของทีม 8) บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี และ 9) ความคิดเชิงบวกและสร้างสรรค์ สภาพการทำงานเป็นทีม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความคิดเชิงบวกและสร้างสรรค์ รองลงมาคือด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม ปัญหาการทำงานเป็นทีม พบว่า สมาชิกถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไม่ตรงตามต้องการของทุกคน สมาชิกขาดการแสดงความคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ส่วนปัจจัยการทำงานเป็นทีม พบว่า มีทิศทางการบริหารการศึกษาโดยกำหนดเป้าหมายความสำเร็จร่วมกันและเน้นนักเรียนสำคัญที่สุด (2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ปัจจัยนำเข้า 4) กระบวนการ ประกอบด้วย ด้านเป้าหมายของทีมที่ชัดเจน ด้านการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบบทบาทที่เหมาะสม ด้านการสื่อสารที่ดี ด้านการมีส่วนร่วมและความร่วมมือ ด้านความไว้วางใจและการยอมรับนับถือ ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม ด้านการแก้ไขความขัดแย้ง ด้านการตัดสินใจร่วมกัน ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี ด้านความคิดสร้างสรรค์และคิดเชิงบวก 5) ผลผลิต ผลลัพธ์ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ (3) รูปแบบการทำงานเป็นทีมสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T67-25 (1).pdf