Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20231025103410

ชื่อเรื่อง

แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38

ชื่อเรื่องรอง

DEVELOPMENT GUIDELINE OF INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS, SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 38

ผู้แต่ง

มลฤดี นิลทัพ

ปี

2564

หัวเรื่อง

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม

ภาวะผู้นำ

ผู้บริหารสถานศึกษา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 การวิจัยนี้ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 367 คน
เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามภาวะผู้น าเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 7 ด้าน ขั้นตอน ที่ 2 การหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้น าเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารสถานศึกษาอย่างน้อย 10 ปี จำนวน 17 ท่าน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที(t-test)
และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้น าเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม
2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และจำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการมีวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารควรจัดให้มีการวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ โดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้การสนับสนุน ด้านการคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารควรให้มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีและกระบวนการพัฒนานวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ของสถานศึกษา ที่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งสำนักงานเขตพื้นที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้ฝึกประสบการณ์ระหว่างโรงเรียนเครือข่าย และด้านการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารควรวางแผนกลยุทธ์เพื่อบริหารความเสี่ยง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันสถานการณ์นอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน จัดทำสรุปประเมินผลการดำเนินงานเพื่อสร้างโอกาสประสบผลสำเร็จที่สูงขึ้น

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T67-7 (1).pdf