Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20221122095040

ชื่อเรื่อง

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดที่ส่งผลต่อทักษะการอ่านและการเขียน ความพึงพอใจต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ชื่อเรื่องรอง

DEVELOPMENT OF WORKBOOKS FOR THAI READING AND WRITING SPELLING SKILLS BASED ON COOPERATIVE LEARNING AND MIND MAPPING TECHNIQUES AFFECTING PRATHOM SUKSA 2 STUDENTS’ READING AND WRITING SPELLING SKILLS, SATISFACTION OF LEARNING AND LEARNING ACHIEVEMENT

ผู้แต่ง

ทักษิณ คุณพิภา

ปี

2561

หัวเรื่อง

แบบฝึกทักษะ

การเรียนรู้แบบร่วมมือ

การอ่านและการเขียนสะกดคํา

ความพึงพอใจต่อการเรียน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแผนผังความคิด เปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคํา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคํา ความพึงพอใจต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ํา) หลังได้รับการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด กลุ่มตัวอยาางเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดสะกอย สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จํานวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร้วมกับเทคนิคแผนผังความคิด 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคํา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t–test for Dependent Samples and t–test for One Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (MANCOVA) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (ANCOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.59 คิดเป็นร้อยละ 59
2. ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคํา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดหลังเรียนอยู่ในระดับมากขึ้นไป อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคํา ความพึงพอใจต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน หลังได้รับการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

6-201909231569211362.pdf