Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191030130721

ชื่อเรื่อง

แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2

ชื่อเรื่องรอง

Participation in educational management of foundation committee in the schools under Tak educational service area office 2.

ผู้แต่ง

สมฤกษ์ ทิมขาว

ปี

2551

หัวเรื่อง

การบริหารการศึกษา

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ; การจัดการศึกษา - การมีส่วนร่วม

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 123 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 2.1 การศึกษาการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วม 2 โรงเรียน รวมจำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 2 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปผลจากการสัมภาษณ์ 2.2 การเสนอแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แจกแจง ความถี่ และจัดลำดับความสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 1.1 สภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการดำเนินงาน รองลงมาได้แก่ ด้านการตัดสินใจ และด้านการประเมินผล ตามลำดับ 1.2 ปัญหาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการประเมินผล รองลงมาได้แก่ ด้านการดำเนินงาน และด้านการตัดสินใจ ตามลำดับ 2. การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จในการมีส่วนร่วม 2.1 ด้านการตัดสินใจ มีการแจ้งบทบาทหน้าที่ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ และชี้แจงให้เข้าใจ การสร้างความตระหนัก และจูงใจ ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความรู้ความเข้าใจให้เห็นความสำคัญและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา ผู้บริหารควรมีการให้ข้อมูลกับคณะกรรมการสถานศึกษาก่อนเชิญประชุมเข้าร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อให้คณะกรรมการมีเวลาในการ ศึกษาข้อมูล 2.2 ด้านการดำเนินงาน ควรมีการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานทุกครั้ง หรือร่วมเสนอแนะแนวทางที่จะนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาว่าข้อมูลความคิดเห็นนั้นจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงาน ผู้บริหารและคณะครูต้องเข้าร่วมในการปฏิบัติงานกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคอยอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.3 ด้านการประเมินผล ควรมีการสร้างแรงจูงใจให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีบทบาทในการประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาทุกปีการศึกษา มีการให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ตอบข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานโรงเรียน และผู้บริหารมีการเข้าไปพูดคุยขอคำแนะนำจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยตัวเอง 3. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 3.1 ด้านการตัดสินใจ มีแนวทางที่สำคัญคือ ควรมีการแจ้งบทบาทหน้าที่ ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ และชี้แจงให้เข้าใจ 3.2 ด้านการดำเนินงาน มีแนวทางที่สำคัญคือ ควรมีการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกครั้ง หรือร่วมเสนอแนะแนวทางที่จะนำไปสู่การตัดสินใจเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาว่าข้อมูลความคิดเห็นนั้นจะถูกนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการบริหารงาน 3.3 ด้านการประเมินผล มีแนวทางที่สำคัญคือ ควรมีการสร้างแรงจูงใจให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีบทบาทในการประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาทุกปีการศึกษา

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf