Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191018094429

ชื่อเรื่อง

การศึกษาสูตรส่วนผสมสมุนไพรกำจัดหนอนผีเสื้อในแปลงผักปลอดสารพิษ

ชื่อเรื่องรอง

A study of the ratio of herbal ingredients to eliminate caterpillars in non-toxic vegetable beds.

ผู้แต่ง

อุทัย ขันคำตา

ปี

2555

หัวเรื่อง

หนอนผีเสื้อ - การกำจัด

สมุนไพร ; สมุนไพร - การปรุง

ศัตรูพืช - การป้องกัน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาสมุนไพรที่กำจัดหนอนผีเสื้อมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษา ส่วนผสมสมุนไพรกำจัดกันศัตรูพืชในแปลงผักปลอดสารพิษ 2. ศึกษาประสิทธิภาพส่วนผสมสมุนไพรกำจัดกันศัตรูพืชในแปลงผักปลอดสารพิษ 3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผสมสมุนไพรกำจัดกันศัตรูพืชในแปลงผักปลอดสารพิษ 4. ศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผสมสมุนไพรกำจัดกันศัตรูพืชในแปลงผัก แหล่งข้อมูลได้แก่ กลุ่มเกษตรกรบ้านทรัพย์มะนาว หมู่ 10 ตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบ จำนวน 1 ชุด สูตรส่วนผสมสมุนไพร จำนวน 5สูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ส่วนผสมสมุนไพรที่เหมาะสมกับการกำจัดหนอนผีเสื้อได้แก่ สูตรที่ 5 และ สูตรที่ 4 ประกอบด้วย หนอนตายหยาก 850 กรัม สะเดา 50 กรัม บอระเพ็ด 100 กรัมและ หนอนตายหยาก 800 กรัม สะเดา 100 กรัม บอระเพ็ด 100 กรัม ตามลำดับ 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าหนอนผีเสื้อของสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดในสูตรที่ 5 โดยใช้สารสกัดจำนวน 10 cc ต่อน้ำ 200 ccกับหนอนผีเสื้อจำนวน 10 ตัวโดยการฉีดพ่นครั้งเดียวพบว่าหลังจากพ่นสารสกัดผ่านไป 20 นาทีหนอนผีเสื้อเริ่มแสดงอาการตัวชา ความเคลื่อนไหวช้าลง 4 ตัวผ่านไป 30 นาที เริ่มเคลื่อนไหวช้าลง 8 ตัว ชักกระตุก 3 ตัวผ่านไป 40 นาที สลบและชักกระตุก 7 ตัวผ่านไป 60นาทีตาย 2ตัว สลบ 4 ตัว ชักกระตุก 4 ตัว และตายสนิททั้งหมดภายใน 6 ชั่วโมง การใช้สูตรที่4ในอัตราส่วนผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่เท่ากันผ่านไป 30 นาทีหนอนผีเสื้อเริ่มแสดงอาการตัวชา ความเคลื่อนไหวช้าลง 3 ตัวผ่านไป 40 นาที เริ่มเคลื่อนไหวช้าลง 4 ตัว ชักกระตุก 3 ตัว ไป 60นาที สลบและชักกระตุก 4 ตัวผ่านไป 6 ชั่วโมงตาย 3 ตัวชักกระตุก 4 ตัวเลื่อนที่ช้าลง 3 ตัวผ่านไป 24 ชั่วโมงตาย 6 ตัวสลบ 2 ตัวแสดงอาการปกติ 2 ตัวและการใช้สูตร ที่ 3, 2,1 เวลาที่แสดงอาการต่างก็ขยายออกไปจนถึงไม่แสดงอาการอะไรเลย จากการทดสอบประสิทธิภาพของแต่ละสูตรพบว่าเวลาที่ 30 นาทีและ 60 นาทีของสูตรที่ 4 และสูตรที่ 5 มีประสิทธิภาพออกฤทธิ์ฆ่าหนอนได้ และสูตรที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสูตรที่มีปริมาณของสมุนไพรหนอนตายหยาก สูงกว่า 3. จากการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือถ่ายทอดเทคโนโลยี พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้และ คู่มือการของสูตรสมุนไพร มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 และผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ เท่ากับ 70 เปอร์เซ็นต์ 4. จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สูตรสมุนไพร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ข้อคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการใช้งานของสูตรสมุนไพร ความชัดเจนในเนื้อหาจากคู่มือการของสูตรสมุนไพร ได้มีส่วนร่วมในการทดลองใช้ของสูตรสมุนไพร

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 11

11.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 12

12.pdf