Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20190927112714

ชื่อเรื่อง

การจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1

ชื่อเรื่องรอง

Knowledge management in schools under Kamphaengphet educational service area office 1.

ผู้แต่ง

ณัฐกรณ์ สารปรัง

ปี

2551

หัวเรื่อง

การจัดการความรู้

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน - การจัดการความรู้

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 2) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 วิธีดำเนินการวิจัย มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 143 คน และครูผู้สอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 337 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า แบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจงแจงความถี่ จัดอันดับ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางพัฒนาการจัดการความรู้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ และประสบการณ์ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การแจงแจงความถี่ จัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยรายด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านบรรยากาศ/วัฒนธรรมองค์กร ด้านกระบวนการสร้าง ใช้จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ด้านการใช้ความรู้ ด้านชุมชนความรู้ ด้านกระบวนการตรวจสอบ (วัด) สินทรัพย์ทางปัญญา ด้านกระบวนการถ่ายทอดความรู้ภายในองค์กร ด้านการจัดหมวดหมู่ความรู้และจัดเก็บ ด้านกระบวนการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กร ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนกระบวนการ 2. ปัญหาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 โดยรายด้านที่อยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ด้านการตรวจสอบ คัดเลือกความรู้ด้านการยกระดับความรู้ ด้านการค้นคว้าหาความรู้จากภายนอก ด้านการสร้างความรู้ขึ้นใช้เองจากการทำงาน ด้านการกำหนดความรู้ที่จำเป็นสำหรับใช้งาน 3. แนวทางพัฒนาการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานแต่ละด้านดังนี้ 3.1 สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนสร้างความรู้จากการปฏิบัติงาน โดยจัดทำเป็นผลงานทางวิชาการ การทำวิจัยในชั้นเรียน 3.2 สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ 3.3 สถานศึกษาควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกับครูผู้สอนในสถานศึกษาเดียวกัน เพื่อตรวจสอบ และคัดเลือกความรู้ร่วมกัน 3.4 สถานศึกษาควรจัดวางรูปแบบ หรือโครงสร้างที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบในด้านความรู้ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจตรงกัน 3.5 สถานศึกษาส่งเสริมครูผู้สอนที่มีผลงานทางวิชาการหรือผลงานดีเด่นจัดทำแฟ้มผลงาน และแฟ้มการพัฒนางาน เพื่อเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น 3.6 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูมีเวทีสำหรับการนำความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 3.7 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ 3.8 สถานศึกษาควรจัดให้มีการแสดงผลงานของครูผู้สอนและยกย่องเชิดชูเกียรติให้สาธารณชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา 3.9 สถานศึกษาควรจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเป็นกัลยาณมิตรเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่กลัวเทคโนโลยี 3.10 สถานศึกษาส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) มาเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในงานและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 3.11 สถานศึกษาสร้างบรรยากาศในการทำงานแบบกัลยาณมิตร โดยการเห็นคุณค่าของกันและกัน 3.12 สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการสับเปลี่ยนงานของครูผู้สอน เพื่อให้มีการกระจายของความรู้ 3.13 สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดตั้งกลุ่มเครือข่าย โดยให้กลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเข้ามารวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อจัดการเรียนรู้ ถ่ายทอดทักษะ ประสบการณ์และความรู้ในการทำงานร่วมกัน โดยมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 3.14 สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการประเมินเชิงบวก โดยประเมินเพื่อหาความสำเร็จไม่ใช่หาข้อบกพร่อง

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf