Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190915195311

ชื่อเรื่อง

การศึกษารูปแบบการกระจายตัวและความเสี่ยงต่อการเกิดไฟ เพื่อสร้างแนวทางการจัดการไฟในพื้นที่เกษตรกรรมโดยใช้ภูมิสารสนเทศ: กรณีศึกษาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

สุภาสพงษ์ รู้ทำนอง

ปนัดดา พาณิชยพันธุ์

ปี

2558

หัวเรื่อง

จุดความร้อน

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

การเผาในที่โล่ง

ไฟในพื้นที่เกษตรกรรม

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=502774

อาเภอเมืองกาแพงเพชร จังหวัดกาแพงเพชร เป็นพื้นที่ประสบปัญหาการเกิดไฟและหมอกควันไฟจากกิจกรรมการเกษตรและการเผาในที่โล่งอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์รูปแบบและการกระจายตัวของ MODIS Hotspot เพื่อแสดงคุณลักษณะของการเกิดไฟในพื้นที่ และ (2) วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดไฟโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยวิธีวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ ซึ่งใช้ตัวเกณฑ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย การเกิดซ้าของ Hotspot พื้นที่ถูกเผาไหม้จากข้อมูล Landsat 8 OLI/TIRS และการปลูกพืชกลุ่มเสี่ยง ผลการศึกษา พบว่า การสารวจภาคสนามช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 ข้อมูล Hotspot มีความถูกต้องร้อยละ 91.43 ลักษณะการตรวจพบที่สาคัญ ได้แก่ พบมากที่สุดในเดือนมกราคม รูปแบบการใช้ที่ดินหลักที่เกิดคือไร่อ้อย ป่าละเมาะ และนาข้าว ข้อมูลการเกิด 10 ปีย้อนหลัง ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มตาบลที่พบมาก ได้แก่ ตาบลเทพนคร ตาบลอ่างทอง และตาบลนาบ่อคา การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงน้อย (ร้อยละ 43.02) รองลงมาคือเสี่ยงปานกลาง (ร้อยละ 21.92) และเสี่ยงมาก (ร้อยละ 14.36) โดยตาบลเทพนครมีความเสี่ยงมากกว่าพื้นที่อื่น การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้มีการจัดการไฟโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มุ่งเข้าถึงเพื่อลดปัญหาในพื้นที่เสี่ยงสูง และควรมีการนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ดังเช่นข้อมูล Hotspot และข้อมูลดาวเทียม Landsat มาใช้ติดตามและเฝ้าระวังการเกิดไฟในพื้นที่มากขึ้น