Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20231025141752

ชื่อเรื่อง

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเอกชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อเรื่องรอง

Job motivation of employees in private sector in Muang district Nakhon Sawan Province

ผู้แต่ง

สุพัฒตรา โพธิ์ศรี และคนอื่่น ๆ

ปี

2561

หัวเรื่อง

แรงจูงใจ

การปฏิบัติงาน

พนักงานเอกชน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรของพนักงานเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า ลักษณะทางประชากรของพนักงานเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.2 มีช่วงอายุ 20-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.0 วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 65.2 ตำแหน่งงานส่วนใหญ่คือพนักงานระดับปฏิบัติการ คิดเป็นร้อยละ 70.5 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระหว่าง 1-3 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.8 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 58.5 และมีรายได้ 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 67.5 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัจจัยภายในพนักงานมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องในสังคมมีแรงจูงใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 รองลงมาคือความต้องการความสำเร็จในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ต่อมาคือความต้องการในลักษณะของงานที่ปฏิบัติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 สุดท้ายความต้องการด้านความรับผิดชอบของทุกฝ่ายและความต้องการความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ปัจจัยภายนอกพนักงานมีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความต้องการทางด้านร่างกาย มีแรงจูงใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 รองลงมาคือความต้องการความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ต่อมาคือความต้องการทางสังคม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 ต่อมาคือความต้องการด้านสถานะของอาชีพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 ต่อมาคือความต้องการด้านการควบคุมและการประเมินผลงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ต่อมาคือความต้องการด้านสภาพการทำงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 และสุดท้ายความต้องการความเป็นอยู่ส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

A67-3.pdf