Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190915191403

ชื่อเรื่อง

การศึกษาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในอำเภอเมืองและอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

มณฑา หมีไพรพฤกษ์

สุภาพร พงษ์ภิญโญโอภาส

สุณี บุญพิทักษ์

วสุนธรา รตโนภาส

สุเทพ เจิงกลิ่นจันทร์

ศักดิ์ชัย สัมทับ

ตฤณศร สัมทับ

ปี

2559

หัวเรื่อง

พันธุ์ข้าวพื้นเมือง

ข้าว - พันธุ์ข้าว

ความหลากหลาย

ภูมิปัญญา

แม่โพสพ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=502711

การศึกษาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในอาเภอเมือง และอาเภอไทรงาม จังหวัดกาแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง 2) ทาแผนที่แหล่งปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและพิกัด GPS 3) ข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอาเภอเมือง และอาเภอไทรงาม จังหวัดกาแพงเพชร ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และสัมภาษณ์ข้อมูล เชิงลึก (In-depth Interview) กับชาวนาที่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง เขตอาเภอเมือง และอาเภอไทรงาม จานวน 15 ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และเขียนสรุปบรรยาย (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ในอาเภอเมืองและอาเภอไทรงาม จังหวัดกาแพงเพชร พบข้าวพันธุ์พื้นเมือง 10 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็นข้าวเจ้า 7 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หอมมะลิแดง พันธุ์ขาวกอเดียว พันธุ์ขาวตาเคลือบ พันธุ์หลวงประทาน พันธุ์โสมาลี พันธุ์หอมสุรินทร์ พันธุ์หอมนิล และข้าวเหนียว 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สันป่าตอง พันธุ์เหลืองน้อย และพันธุ์ข้าวเหนียวดา การวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่าแหล่งปลูกข้าวพื้นเมืองที่พิกัด ที่ 5 ปลูกข้าวสันป่าตอง และพิกัดที่ 6 ปลูกข้าว หอมสุรินทร์ที่ตาบลหนองปลิง อาเภอเมือง จังหวัดกาแพงเพชร มีชุดดิน 49 ซึ่งไม่เหมาะสมกับในการปลูกข้าว เนื่องจากเป็นดินตื้นถึงลูกรังหรือชั้นเชื่อมแข็งของลูกรัง การระบายน้าดีถึงดีปานกลาง เสี่ยงต่อการขาดน้ามาก และข้อมูลจากสานักงานฟื้นฟูที่ดินแห่งสหรัฐอเมริกา (USBR) พบว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมการปลูกข้าวระดับมาก ข้อมูลทางเศรษฐกิจไม่ชัดเจนเนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปลูกไว้กินเองที่เหลือแบ่งออกขายและบางส่วนปลูกเพื่อสะสมพันธุ์ ผลการวิจัย พบว่าชาวนามีความเชื่อและศรัทธาในแม่โพสพว่า คือ จิตวิญญาณที่ผูกพันอยู่ในต้นข้าว และเป็นผู้ดูแลคุ้มครองให้ต้นข้าวเจริญงอกงามให้ผลผลิตที่ดีสมบูรณ์ และจะดูแลทุกคนในครอบครัวให้มีความสุขเจริญรุ่งเรือง โดยประเพณีที่ทา แบ่งออกเป็นช่วงระยะการปฏิบัติได้เป็นสามช่วง ระยะแรก ข้าวออกรวง เรียกว่าข้าวตั้งท้อง หรือแม่โพสพตั้งท้องช่วงระยะที่สองเป็นช่วงระยะเก็บเกี่ยวนาและกลับไปเข้ายุ้งฉาง และช่วงระยะสุดท้ายนาออกจากยุ้งฉางมาสีเป็นข้าวสารรับประทาน ทั้งสามช่วงระยะดังกล่าวนี้แต่ละชุมชน และหมู่บ้านอาจมีรายละเอียดของพิธีกรรมแตกต่างกันไปบ้างหรือใช้คาว่า “เรียกขวัญ” เมื่อข้าวออกรวง หรือตั้งท้อง ส่วน “รับขวัญ” ทาเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวนากลับมาบ้าน เก็บในยุ้งฉาง การกล่าวเรียกแม่โพสพจะเป็นคาพูดร้อยเรียงธรรมดา หรือเป็นบทกลอนที่มีความคล้องจองกัน ส่วนสิ่งของ และอาหารที่ใช้ในแต่ละชุมชน และหมู่บ้าน จะมีความคล้ายคลึงกัน เรียกขวัญข้าวก็จะใช้ของเปรี้ยว เหมือนที่หญิงท้องชอบรับประทาน เช่น มะยม ส้มตา หรืออื่นๆ เช่น หมาก พลู ข้าว เผือก ใส่มัน กล้วย ขนมหวาน 3 สี ขนมชั้น ถ้วยฟู ขนมต้ม ความเชื่อของชาวนาบางคน มีพิธีกรรมตั้งแต่เริ่มเกี่ยวข้าว ไหว้เจ้าที่เจ้าทางใช้หัวหมู น้าจันทร์ (แม่โขง) น้าส้ม ไก่ต้ม เหล้าขาว เผือก มัน ไข่ไก่ และธูป เทียนคู่ ส่วนรับขวัญข้าวจะเป็นอาหาร หรือขนมที่พอหาได้ หรือเป็นขนมที่ใช้ ในงานบุญ เช่น ขนมต้มขาวต้มแดง ข้าวหลาม ข้าวไข่ปากหม้อ (ข้าวสวย ไข่ต้ม) และสิ่งของอื่นๆ เช่น ปลาตะเพียน 6 ตัว ในบางพื้นที่การเอาข้าวเข้ายุ้ง จะเอาใบคูณ ใบยอ ใบอีเหนียว เอาไปเหน็บตามยุ้ง 4 มุม ซึ่งมีความเชื่อว่าไม่ให้แม่โพสพหนี