Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20210428115601

ชื่อเรื่อง

การประเมินโครงการธนาคารโรงเรียนของโรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41

ชื่อเรื่องรอง

THE EVALUATION OF THE SCHOOL BANK PROJECT AT NABORKHAMWITTAYAKOM SCHOOL UNDER OFFICE OF THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 41

ผู้แต่ง

สุธิดา โพธิ์ขาว

ปี

2561

หัวเรื่อง

การประเมินโครงการ

โครงการธนาคารโรงเรียน - การประเมิน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการธนาคารโรงเรียนของโรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการธนาคารโรงเรียนของโรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 40 คน นักเรียน จำนวน 542 คน เจ้าหน้าที่ธนาคาร จำนวน 1 คน รวม 584 คน และผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการธนาคารโรงเรียน จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 2) แบบสัมภาษณ์
สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการแจกแจงความถี่
ผลการวิจัย พบว่า
1. การประเมินโครงการธนาคารโรงเรียน ของโรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 สรุปได้ ดังนี้
1.1 การประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 การประเมินกระบวนการดำเนินงาน พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.3 การประเมินผลผลิต พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนความคิดเห็นของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความร่วมมือในการเปิดบัญชี และการฝาก - ถอนเงินกับธนาคารโรงเรียน
และด้านการวางแผนการออมเงิน ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. แนวทางพัฒนาโครงการธนาคารโรงเรียนของโรงเรียนนาบ่อคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 พบว่า มีแนวทางพัฒนาโครงการที่สำคัญ ดังนี้
2.1 ด้านปัจจัยเบื้องต้น คือ การให้ของรางวัลเพื่อส่งเสริมการออม การจัดสรรงบประมาณตามสถานการณ์ความสำคัญ และความจำเปน และต้องจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพิ่ม
2.2 ด้านกระบวนการดำเนินงาน คือ การประชุมเพื่อวางแผนดำเนินงานร่วมกันควรให้เจ้าหน้าที่จากธนาคารมารับฝากเงิน และให้คำปรึกษาเป็นประจำ ควรให้จัดทำปฏิทินการประชุมและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง และมีการติดตาม นำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงการทำงาน
2.3 ด้านผลผลิต เรื่องความร่วมมือในการเปิดบัญชีและการฝาก - ถอนเงิน คือจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้น และส่งเสริมการออมในรูปแบบต่าง ๆ ให้นักเรียนออมเป็นกิจวัตรประจำวันและมีบัตรคิว เรื่องการวางแผนการออมเงิน คือ ครูบูรณาการในกิจกรรมการเรียนรู้ ติดตามวัด
ประเมินผล อย่างสม่ำเสมอ ให้นักเรียนออมตามหลักการออม คือ รายได้ – เงินออม = รายจ่าย ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เงินอย่างประหยัดและรู้คุณค่า และรู้จักวางแผนการใช้เงิน เรื่องความภาคภูมิใจที่รู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด คือ การมอบรางวัล ของที่ระลึก เกียรติบัตรทุนการศึกษา และการยกย่องชื่นชม

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T64007.pdf