Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20210118105859

ชื่อเรื่อง

การพัฒนารูปแบบการสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชน ในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดน จังหวัดตาก

ชื่อเรื่องรอง

The model development for promoting the youth citizenship awareness in 5 districts Border Areas, Tak province.

ผู้แต่ง

อดิเรก ฟั่นเขียว

คมสันต์ นาควังไทร

ณัฐภาณี บัวดี

ปี

2561

หัวเรื่อง

การพัฒนารูปแบบ

ความเป็นพลเมือง

เยาวชน - การพัฒนา

การสร้างจิตสำนึก

ตาก - ชายแดน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

     งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการ การพัฒนารูปแบบ และประเมินรูปแบบการสร้างจิตสานึกความเป็นพลเมืองแก่เยาวชนในพื้นที่ 5 อาเภอชายแดน จังหวัดตาก เป็นการวิจัยผสมผสานวิธี มีขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสอบถามปัญหาและความต้องการสร้างจิตสานึกจากบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จานวน 400 คน (2) การสัมภาษณ์การสร้างรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 คน (3) การประเมินผลคุณภาพของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ จานวน 8 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
     ผลการศึกษา พบว่า
     1) ปัญหาจิตสานึกความเป็นพลเมืองฯ เยาวชนมีปัญหาในระดับปานกลาง ด้านที่มีปัญหาสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม รองลงมาได้แก่ ด้านการเคารพสิทธิ เสรีภาพและกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม ด้านการเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และต่าที่สุด ได้แก่ ด้านความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
     2) ความต้องการสร้างจิตสานึกความเป็นพลเมืองฯ พบว่า บุคลากรต้องการสร้าง (1) สร้างจิตสานึกการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เกิดขึ้นแก่เยาวชน เช่น จัดค่ายเยาวชนประชาธิปไตย (2) สร้างการเคารพสิทธิ เสรีภาพและกฎกติกาของสังคม เช่น จัดค่ายอบรมประชาธิปไตยและกฎหมาย (3) สร้างความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม เช่น จัดค่ายอาสาพัฒนา จัดอบรมให้ความรู้หน้าที่พลเมืองและเคารพสิทธิของผู้อื่น (4) สร้างความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม เช่น จัดอบรมประชาธิปไตยเยาวชน จัดกิจกรรมสภานักเรียน อบรมพฤติกรรมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม
     3) รูปแบบการสร้างจิตสานึกความเป็นพลเมืองฯ พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การรู้หน้าที่ เคารพสิทธิ เสรีภาพและกฎกติกาของสังคม (2) การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม (3) การเคารพในศักดิ์ศรีและความแตกต่างของความเป็นมนุษย์ และ (4) การมีส่วนร่วมและความเข้าใจระบอบประชาธิปไตย โดยรูปแบบมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นตระหนักรู้ในตนเองและรู้จักผู้อื่น (2) ขั้นสร้างบรรยากาศและเผชิญสถานการณ์ (3) ขั้นทดลองปฏิบัติ (4) ขั้นวิพากษ์และสะท้อนคิดประเด็นปัญหา และ (5) ขั้นสรุปและถอดบทเรียน และ
    4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก โดยทุกขั้นตอนของรูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

64-036.pdf