Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20210114103008

ชื่อเรื่อง

การสร้างเครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ตาก และสุโขทัย

ชื่อเรื่องรอง

A networking to restore a livelihood and an inheritance of intangible cultural heritage of ethnic groups in Thailand to promote a cultural tourism in Kamphaeng phet, Tak and Sukhotai provinceto

ผู้แต่ง

โอกามา จ่าแกะ และคนอื่นๆ

ปี

2561

หัวเรื่อง

การสร้างเครือข่าย

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ฟื้นฟูวิถีชีวิต

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การสร้างให้เกิดการยอมรับในระดับปัจเจกบุคคล โดยการปรับตัว การพัฒนาตนเอง และการก้าวข้ามภาวะความเป็นวัฒอศึกษาวิถีชีวิตและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในเขตจังหวัดกําแพงเพชร ตาก และสุโขทัย และเพื่อสร้างเครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชนเผ่าชาวไทยภูเขาในเขตจังหวัดกําแพงเพชร ตาก และสุโขทัย และหาแนวทางส่งเสริมและนําผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาในเขตจังหวัดกําแพงเพชร ตาก และสุโขทัย โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อาวุโสและปราชญ์ชุมชน ผู้นําวัฒนธรรมของหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาชาวเขา จํานวน 60 คน ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า
       ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดกําแพงเพชร ตาก และสุโขทัย มีวิถีชีวิตและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สําคัญ เช่น การสืบทอดประเพณีปีใหม่การอนุรักษ์ภูมิปัญญาชนเผ่า หัตถกรรมชนเผ่า ดนตรีชนเผ่า การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์เป็นต้น ด้านกระบวนการในการสร้างเครือข่ายฟื้นฟูวิถีชีวิตและสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์มี 3 ขั้นตอน คืนธรรมย่อย 2) การสร้างความสัมพันธ์ระดับกลุ่มและการจัดตั้งกลุ่มสัมพันธ์ 3) การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ไปสู่การยอมรับระดับเครือข่าย ด้วยการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมไปสู่การสร้างเครือข่ายต่างๆ ขึ้น ส่วนแนวทางส่งเสริมและการนําผลการวิจัยไปใช้สําหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา ประกอบด้วย 1) การพัฒนาต้นแบบวิถีชีวิตและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร 2) การทดลองใช้นวัตกรรมฯ และ 3) การประเมินผลการทดลองการใช้นวัตกรรมฯ ทั้งนี้พบว่าปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขให้ประสบความสําเร็จมีอย่างน้อยสามประการคือ ประการแรกชุมชนมีวิถีชีวิตและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นในด้านการจัดการท่องเทยว ประการที่สองชุมชนมีศักยภาพในการบริหารจัดการและประการสุดท้ายคือการได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

64-038.pdf