Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191120101057

ชื่อเรื่อง

กลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล

ชื่อเรื่องรอง

The Strategy for Alterantive Energy Management of the Communties Surrounding Bhumibol Dam Power Plant

ผู้แต่ง

ณัฐพงศ์ แสนสติ

ปี

2562

หัวเรื่อง

การจัดการ

พลังงานทดแทน

โรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล

พลังงานทดแทน - การจัดการ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล และ 3) ประเมินกลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้ าเขื่อนภูมิพล การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงานทดแทนของชุมชน ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล โดยใช้แบบสอบถามและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล รวม 500 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลดำเนินการยกร่างกลยุทธ์โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำชุมชน ผู้แทนโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพลังงานทดแทน และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนากลยุทธ์ รวม 24 คน และตรวจสอบร่างกลยุทธ์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยมีผู้เชี่ยวชาญ 10 คน และ 3) ประเมินกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลด้านการควบคุมมีการดำเนินการน้อยกว่าด้านอื่นๆ ปัญหา อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกอยู่ในระดับปานกลาง
2. กลยุทธ์การจัดการพลังงานทดแทนของชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเขื่อนภูมิพลประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก 7 กลยุทธ์รอง ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การสร้างให้ชุมชนรอบเขื่อนมีความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการจัดการพลังงานทดแทน 2) การบริหารจัดการและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนให้มีความเหมาะสมกับสภาพของชุมชนรอบเขื่อน 3) การส่งเสริมให้ชุมชนรอบเขื่อนเพิ่มศักยภาพในการผลิต และการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน และ 4) การสร้างเครือข่ายด้านพลังงานทดแทน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบเขื่อนกับเครือข่ายในทุกภาคส่วน
3. กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากและมากที่สุด

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

tpg.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

ch1.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

ch2.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

ch3.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

ch4.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

ch5.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

bib.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

app1.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

app2.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

app3.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 11

app4.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 12

app5.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 13

app6.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 14

app7.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 15

app8.pdf