Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20191114144255

ชื่อเรื่อง

จริยธรรมนักศึกษาและแนวทางพัฒนาจริยธรรมนักศึกษา

ชื่อเรื่องรอง

The student ethics and the guideline to develop student ethics

ผู้แต่ง

ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์

ปี

2560

หัวเรื่อง

ตัวแบบจริยธรรม

จริยธรรมนักศึกษา

นักศึกษา - จริยธรรม

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาตัวแบบจริยธรรมนักศึกษา (จริยธรรมสำหรับนักศึกษา) 2. ศึกษาจริยธรรมนักศึกษา และเปรียบเทียบจริยธรรมนักศึกษาตามความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา สถานภาพ/อาชีพ และประสบการณ์ในตำแหน่ง/หน้าที่/อาชีพ และศึกษาจริยธรรมนักศึกษาและเปรียบเทียบ จริยธรรมนักศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่สังกัด ค่าใช้จ่ายต่อเดือนระหว่างการศึกษา และอาชีพของผู้ปกครอง (นักศึกษา) 3. ศึกษาแนวทางพัฒนาจริยธรรมนักศึกษา และ
4. ประเมินแนวทางพัฒนาจริยธรรมนักศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี คือ การศึกษาเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านจริยธรรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลทั่วไป นักศึกษา และผู้บริหาร นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการศึกษา และการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) และ การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของ Dunnett T3 ผลการวิจัย พบว่า ตัวแบบจริยธรรมนักศึกษา (จริยธรรมสำหรับนักศึกษา) 25 ประการ เช่น มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตนศึกษา (ปัญญา) มีความ ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน ไม่ย่อท้อ ไม่ทอดธุระ (วิริยะ) สนใจศึกษาเล่าเรียน อ่านตำรา ฟังคำบรรยายต่างๆ และสดับตรับฟังมาก (พาหุสัจจะ) เป็นต้น ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อจริยธรรมนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีจริยธรรมอยู่ในระดับมีปานกลาง (X = 3.08 (บุคคลทั่วไป) และ X = 3.24 (นักศึกษา)) การเปรียบเทียบจริยธรรมนักศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา สถานภาพ/อาชีพ และประสบการณ์ในตำแหน่ง/หน้าที่/อาชีพ (บุคคลทั่วไป) และเพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา คณะที่สังกัด ค่าใช้จ่ายต่อเดือนระหว่างการศึกษา และอาชีพของผู้ปกครอง (นักศึกษา) พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อจริยธรรมนักศึกษาไม่แตกต่างกัน และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักศึกษา 35 ประการ เช่น รัฐบาลกำหนดนโยบายการพัฒนาจริยธรรมนักศึกษา เป็นนโยบายสำคัญของรัฐ มหาวิทยาลัยกำหนดนโยบายพัฒนาจริยธรรมนักศึกษาเป็นนโยบายสำคัญ มหาวิทยาลัยมีแผนงานพัฒนาจริยธรรมนักศึกษาที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เป็นต้น การประเมินแนวทางพัฒนาจริยธรรมนักศึกษา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (X = 4.14 ) โดยด้านมาตรฐานความเหมาะสม
(X = 4.19) ด้านมาตรฐานการใช้ประโยชน์ได้ (X = 4.12) และ ด้านมาตรฐานความเป็นไปได้ (X = 4.10 )

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

20191114144255.pdf