Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191030092649

ชื่อเรื่อง

แนวทางการพัฒนาการตลาดปูทะเลมีชีวิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ชื่อเรื่องรอง

Guidelines to develop mud crab marketing in maesod district, Tak province.

ผู้แต่ง

พิฑูรย์ แก้วใส

ปี

2552

หัวเรื่อง

ปูทะเล - การตลาด

ผู้ประกอบการค้าปูทะเล - การตลาด

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการตลาดปูทะเลมีชีวิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) หาแนวทางการพัฒนาการตลาดปูทะเลมีชีวิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาการตลาดปูทะเลมีชีวิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในการศึกษาสภาพและปัญหาการตลาดปูทะเลมีชีวิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ประกอบการค้าและนำเข้าปูทะเลมีชีวิตทางด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดตาก ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าปูทะเลมีชีวิตรายใหญ่ ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ซื้อปูทะเลมีชีวิต จำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ การหาแนวทางการพัฒนาการตลาดปูทะเลมีชีวิตของผู้ประกอบการค้าในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ประกอบการค้าปูทะเลมีชีวิต หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการตลาดของผู้ประกอบการค้าปูทะเลมีชีวิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากการวิจัยได้ทำการพิจารณาโดยแยกเป็น 4 ด้าน คือ 1.1 ด้านผลิตภัณฑ์ ปูทะเลมีชีวิตที่จำหน่ายในอำเภอแม่สอดจะนำเข้ามาจากประเทศเมียนม่าร์ และจะกระจายไปยังตลาดสด แหล่งท่องเที่ยว และตามร้านอาหาร และส่งต่อไปยังต่างประเทศ คือ ประเทศเวียดนาม กัมพูชา เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปูนิ่ม ลักษณะของปูทะเลมีชีวิตที่ผู้ซื้อต้องการส่วนใหญ่จะเป็นปูเนื้อ และปูไข่ 1.2 ด้านราคา การกำหนดราคาปูทะเลมีชีวิตจะกำหนดตามขนาด ประเภท ปริมาณการนำเข้าปูทะเลมีชีวิต และความต้องการของผู้ซื้อ 1.3 ด้านการจัดหน่าย ปูทะเลมีชีวิตที่จำหน่ายในอำเภอแม่สอดส่วนใหญ่จะมีการจำหน่ายกันแบบค้าส่ง (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) มีน้อยรายที่จำหน่ายแบบค้าปลีกตามแหล่งท่องเที่ยวตลาดริมเมย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเมียนม่าร์มากกว่าชาวไทย 1.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด การค้าปูทะเลมีชีวิตในอำเภอแม่สอดนั้นเป็นการค้าแบบผูกขาด มีลูกค้าประจำ จึงไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล และมีการแข่งขันกันมากกว่าการส่งเสริมการตลาด 2. ปัญหาการตลาดปูทะเลมีชีวิต 2.1 ด้านผลิตภัณฑ์ ปัญหาหลักด้านผลิตภัณฑ์ปูทะเลมีชีวิต คือ ปัญหาด้านคุณภาพเนื่องจากปูทะเลมีชีวิตที่วางจำหน่ายอยู่ทั่วไปในตลาดริมเมยไม่มีความสด สะอาด เพราะมีการนำปูตายมาปะปนกับปูมีชีวิต และนำดินมาพอกตัวปูเพื่อทำให้ปูอยู่ได้นาน แต่ปูทะเลมีชีวิตเป็นสินค้าที่เก็บไว้ได้ไม่นาน ทำให้คุณภาพของปูทะเลมีชีวิตต่ำลง 2.2 ด้านราคา ปัญหาหลักก็คือ การกำหนดราคาปูทะเลมีชีวิตกันเอง จะกำหนดราคาตามปริมาณการนำเข้า หากมีการนำเข้าปริมาณมากปูทะเลมีชีวิตจะมีราคาต่ำ ถ้ามีการนำเข้าปริมาณน้อยปูทะเลมีชีวิตจะมีราคาสูง 2.3 ด้านการจัดจำหน่าย สถานที่ในการจำหน่ายปูทะเลมีชีวิตนั้นยังไม่มีที่ตั้งร้านอย่างถาวร และยังไม่มีตลาดกลางในการจำหน่าย เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการจำหน่ายแบบค้าส่ง (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) และปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น 2.4 ด้านการส่งเสริมการตลาด ปัญหาหลักก็คือผู้ประกอบการไม่ให้ความสำคัญกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการในการส่งเสริมให้ความรู้ 3. แนวทางการพัฒนาการตลาดปูทะเลมีชีวิตในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากการวิจัย ได้ทำการพิจารณาแยกเป็น 4 ด้าน คือ 3.1 ด้านผลิตภัณฑ์ จัดการฝึกอบรมเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ค้าปูทะเลมีชีวิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความรู้ทางด้านการพัฒนาคุณภาพของสินค้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด 3.2 ด้านราคา ควรหันมาแข่งขันกันทางด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่าการแข่งขันทางด้านราคา การทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าสินเชื่อให้รัดกุม 3.3 ด้านการจัดจำหน่าย ควรจัดจำหน่ายสินค้าปูทะเลมีชีวิตที่มีคุณภาพ ควรมีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้ารู้จักและสนใจสินค้าปูทะเลมีชีวิตมากขึ้น ในการจัดจำหน่ายสินค้าปูทะเลมีชีวิตให้มีประสิทธิภาพต้องเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ควรเน้นการให้บริการที่ดี ความปลอดภัยในการบริโภค 3.4 การส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมให้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าเป็นอันดับแรก เพื่อจะได้เป็นที่รู้จักของลูกค้า แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นและเอกลักษณ์ของปูทะเลมีชีวิต ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของลูกค้า เนื่องจากเป็นสินค้าบริโภคที่มีชีวิต ต้องการความสะอาด ความสดและถูกสุขอนามัย

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf