Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191025110529

ชื่อเรื่อง

แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2

ชื่อเรื่องรอง

Guidelines for development of the operation of budget administration of fundamental schools under Tak educational service area 2 office.

ผู้แต่ง

ดำรงค์ โตใย

ปี

2551

หัวเรื่อง

งบประมาณ - การบริหาร

สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน - การบริหารงบประมาณ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปีการศึกษา 2549 จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีสภาพการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการบริหารบัญชี รองลงมาคือ ด้านการบริหารการเงิน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้ายคือ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ 2. ปัญหาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 ในภาพรวม 3 ลำดับ คือ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน และด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางการพัฒนาของแต่ละด้านในลำดับแรก ดังต่อไปนี้ 3.1 ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ 1) ส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน (SWOT) เพื่อการจัดทำงบประมาณ 2) ส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์ งบประมาณของสถานศึกษาเพื่อเป็นต้นทุนผลผลิตของสถานศึกษา 3) เขตพื้นที่การศึกษาควรให้ความสำคัญในการจัดทำและเสนองบประมาณ และร่วมกันวิเคราะห์ความต้องการร่วมกับโรงเรียนเพื่อให้สามารถจัดทำแผนงบประมาณได้ตามความต้องการจริงๆ 3.2 ด้านการจัดสรรงบประมาณ 1) โรงเรียนควรตรวจสอบและวิเคราะห์โครงการ/กิจกรรม แล้วกำหนดแผนปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรม 2) ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงคุณค่าของการจัดทำแผนงาน/โครงการ โดยกำหนดให้เป็นนโยบายของโรงเรียน 3) ผู้บริหารควรอธิบาย ชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรภายในโรงเรียนให้เห็นความสำคัญ ความจำเป็นของการกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุนผลผลิต 3.3 ด้านการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน 1) ฝ่ายบริหารจัดประชุมชี้แจงให้คณะครู และบุคลากรทางการศึกษารับทราบ ในการจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จผลผลิตของสถานศึกษา และกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกัน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติงาน 2) ผู้บริหาร และบุคลากรภายในโรงเรียนร่วมกันประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จผลผลิตของสถานศึกษาร่วมกัน 3) ตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนตรวจสอบ ติดตาม การใช้เงินงบประมาณทั้งในและนอกงบประมาณให้เป็นไปตามแผนการใช้จ่ายเงินและแผนปฏิบัติงานประจำปี และให้มีการนำเสนอผลการติดตามในที่ประชุมประจำเดือน 3.4 ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา 1) โรงเรียนภายในกลุ่มร่วมกันสำรวจทรัพยากรที่มี รวมทั้งบุคลากร และให้มีการทำงานและใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยให้ประธานกลุ่มโรงเรียนเป็นผู้กำหนดผู้รับผิดชอบและร่วมกันบริหารงาน 2) นำเสนอผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาและปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ และวางแผนระดมทรัพยากรทางการศึกษา 3) ให้โรงเรียนวิเคราะห์แหล่งทรัพยากรต่างๆที่มีในโรงเรียน และจัดทำเป็นข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ และส่งต่อข้อมูลเพื่อให้ประธานกลุ่มโรงเรียนรวมรวมไว้เป็นแหล่งข้อมูลกลาง เพื่อให้สะดวกในการประสานความร่วมมือภายในกลุ่มโรงเรียน 3.5 การบริหารการเงิน 1) จัดประชุมเพื่อชี้แจง เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในสถานศึกษาทราบหลักการ นโยบายการบริหารการเงิน และการควบคุมงบประมาณ 2) จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติอธิบายนโยบายการบริหารการเงินและการควบคุมงบประมาณที่มีรายละเอียดถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนำไปปฏิบัติได้ 3.6 การบริหารบัญชี 1) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยเชิญบุคลากรที่มีความรู้ด้านการทำบัญชีจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือจากกรมบัญชีกลางมาร่วมกันจัดทำคู่มือมาตรฐานการบริหารทางบัญชี ที่อธิบายถึงหลักการ แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องและชัดเจน 2) สร้างเครือข่ายให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาสำหรับโรงเรียนที่อยู่ในเขตใกล้เคียงกัน 3) เขตพื้นที่การศึกษาต้องจัดการอบรมประชุมสัมมนาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีเพื่อให้สถานศึกษาได้ทราบแนวปฏิบัติและระเบียบการบริหารงานการเงินที่กำหนดมาใหม่ 3.7 การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ 1) ให้สถานศึกษาทำข้อมูลการบริหารสินทรัพย์ให้เป็นปัจจุบัน และครบถ้วนเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาระบบการบริหารสินทรัพย์ การเงินและพัสดุ 2) ผู้บริหารควรสนับสนุนและจัดให้มีระบบสารสนเทศที่สามารถรองรับการพัฒนาระบบการบริหารสินทรัพย์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf