Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191011111630

ชื่อเรื่อง

การศึกษารูปแบบและสร้างเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพด

ชื่อเรื่องรอง

A study fo the model and building the green fuel briquette machine from the corncob.

ผู้แต่ง

นพดล เกษประดิษฐ์

ปี

2551

หัวเรื่อง

เครื่องอัดแท่ง

เทคโนโลยีการผลิตแท่งเชื้อเพลิงเขียว

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและสร้างเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพด 2) เพื่อศึกษาส่วนผสมระหว่างซังข้าวโพดกับแป้งมันสำปะหลังเป็นแท่งเชื้อเพลิงเขียว 3) เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพด 4) เพื่อหาประสิทธิภาพของแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือผู้ใช้เครื่องรีดประเภทต่างๆในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 10 ราย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามแบบ จำนวน 3 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษารูปแบบและสร้างเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพดซึ่งเป็นไปตามรูปแบบ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านคุณสมบัติในการทำงานของเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพด รองลงมา ด้านกายภาพของเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพด และด้านสภาพการทำงานของเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพด 2. การศึกษาส่วนผสมระหว่างซังข้าวโพดกับแป้งมันสำปะหลังเป็นแท่งเชื้อเพลิงเขียวพบว่าส่วนผสมทั้ง 20 ตัวอย่างนั้นสามารถอัดออกมามีคุณสมบัติที่ดีจากการคัดเลือกได้ 3 ตัวอย่าง คือ ส่วนผสมระหว่างแป้งมันสำปะหลังกับซังข้าวโพดได้แก่ 0.15 :1 , 0.20 : 1 และ 0.25 : 1.5 โดยพบว่าแท่งเชื้อเพลิงจะมีลักษณะผิวเรียบไม่แตกร้าวและเป็นแท่งเชื้อเพลิงที่มีรูมีคุณสมบัติที่ดีเหมาะแก่การนำไปใช้งาน 3. ประสิทธิภาพของเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพด ด้านความสามารถในการอัดพบว่าเครื่องสามารถอัดส่วนผสมระหว่างแป้งมันกับซังข้าวโพดทั้งหมด 19 ส่วนผสมโดยที่เครื่องไม่หยุดทำงานและสามารถอัดออกมาได้อย่างต่อเนื่องแต่เครื่องไม่สามารถอัดส่วนผสม 0.05 : 2 ให้ออกมาจากกระบอกอัดได้เนื่องจากปริมาณส่วนผสมตัวประสานน้อย และปริมาณซังข้าวโพดมากจนเครื่องไม่สามารถที่จะอัดส่วนผสมให้ออกมาจากกระบอกอัดได้ และเครื่องจะค่อยๆ ชะลอความเร็วจนหยุดทำงานในที่สุด ด้านอัตราการผลิตพบว่าเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพดมีอัตราการผลิตอยู่ระหว่าง 151 – 215 กิโลกรัม/ชั่วโมงหรือ 626 – 855 แท่ง/ชั่วโมง 4. ประสิทธิภาพของแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากซังข้าวโพดพบว่ามีค่าความหนาแน่น อยู่ระหว่าง 0.559 – 0.701 กรัม/ลบ.ซม ค่าดัชนีการแตกร่วนอยู่ระหว่าง 0.994 – 0.999 ใช้ระยะเวลาในการจุดติดภายใน 4 – 7 นาที และให้ค่าความร้อนสูงสุดอยู่ในช่วง 672 – 703 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 5 – 7 นาที

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf