Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20190920152321

ชื่อเรื่อง

กลยุทธ์ในการบริหารให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

ชื่อเรื่องรอง

A straregy in administration of successive private school under the private education commission

ผู้แต่ง

พัชรี สินธุระเวชญ์

ปี

2546

หัวเรื่อง

โรงเรียนเอกชน - การบริหาร

การบริหารโรงเรียนเอกชน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลยุทธในการบริหารให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ผู้วิจัยมุ่งศึกษาความคิดเห็นและแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญในด้าน กลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนเอกชนโดยแบ่งองค์ประกอบในการพัฒนากลยุทธ์หลักทางการบริหารสู่ความสำเร็จไว้ 5 ด้าน คือ 1) การวางแผน 2) การจัดโครงสร้างองค์กร 3) การจัดคนเข้าทำงาน 4) การอำนวยการ 5) การควบคุม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนเอกชนให้ประสบความสำเร็จอย่างน้อย 17 คน โดยศึกษาความคิดเห็นและแนวคิดโดยใช้เทคนิค เดลฟาย (Delphi Technique) จำนวน 3 รอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามประมาณค่า สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการวางแผน ได้แก่ จัดทำแผนงาน/กิจกรรม/โครงการ โดยแบ่งงานให้ตรงตามหน้าที่/ความสามารถของบุคลากรเพื่อรับผิดชอบ มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายติดตามงานพร้อมประเมินผลงานตามกำหนดการปฏิทินที่วางไว้และรายงานผล คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ นำผลการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลไปสรุปวิเคราะห์และปรับปรุงพัฒนาโรงเรียน 2. ด้านการจัดโครงสร้างองค์กร ได้แก่ กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบตามความเหมาะสมของงานแต่ละฝ่าย ทำหน้าที่ดูแลกำกับ ติดตาม ประเมินผล พิจารณาจากภาระงานของโรงเรียน กำหนดโครงสร้างการบริหารงานแบ่งเป็น 6 ฝ่าย บริหารองค์กรในรูปแบบกระจายอำนาจ 3. การจัดคนเข้าทำงาน ได้แก่ จัดบุคลากรเข้าทำงานโดยยึดหลักความรู้ความสามารถของบุคลากร จัดบุคลากรเข้าทำงานให้ตรงกับประสบการณ์และความถนัดของบุคลากร จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมงาน 4. การอำนวยการ ได้แก่ ใช้ระบบการบริหารงานและกระจายอำนาจโดยให้บุคลากรทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน 5. การควบคุม ได้แก่ หัวหน้างานแต่ละฝ่ายเป็นผู้ติดตามและประเมินผลตามกำหนดระยะเวลาตามปฏิทินสรุปงานเสนอต่อผู้บริหาร จัดทำแบบกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การทำงานโดยหัวหน้าฝ่ายประเมินผลงานและรายงานผลต่อผู้บริหาร นำผลจากการประเมินมาพัฒนาโรงเรียนทุกด้าน

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf