Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20190920110519

ชื่อเรื่อง

กลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

Strategic developmemt of network one tambom one prodct (OTOP) in Kamphaeng Phet.

ผู้แต่ง

จีรารัตน์ พัฒนคูหะ

ปี

2551

หัวเรื่อง

กลยุทธ์การพัฒนา

หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ - เครือข่าย

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาการพัฒนาเครือข่าย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดกำแพงเพชร มีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาเครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ประธานกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของจังหวัดกำแพงเพชร ประธานคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ คณะกรรมการเครือข่าย OTOP จังหวัดกำแพงเพชร เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและนักวิชาการพัฒนาชุมชน รวมทั้งสิ้น 147 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ การแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดกำแพงเพชร รวบรวมข้อมูลโดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการเครือข่าย OTOP จังหวัดกำแพงเพชร ประธานคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ คณะกรรมการเครือข่าย OTOP จังหวัดกำแพงเพชร เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและนักวิชาการพัฒนาชุมชน รวม 39 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาวิจัย 1. สภาพการพัฒนาเครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดกำแพงเพชร ด้านการประสานสนับสนุนแหล่งทุนแก่สมาชิกเครือข่าย พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการประสานกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน เพื่อให้ความรู้ด้านเงินทุนแก่สมาชิก ด้านการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มที่เป็นสมาชิก พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกดำเนินการขอรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น อย. / มผช. / ฮาราล / Q และอื่น ๆ ด้านการสนับสนุนการเพิ่มช่องทางการตลาดแก่กลุ่มที่เป็นสมาชิก พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในระดับจังหวัด ด้านการสนับสนุน แนะนำ และช่วยเหลือการยกระดับกลุ่มสมาชิกสู่มาตรฐานกลาง พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือมีการประสานหน่วยงาน องค์การ สถาบันการศึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการยกระดับการพัฒนากลุ่มแก่สมาชิก ด้านการส่งเสริมให้สมาชิกเครือข่ายดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือมีการจัดการประชุมสมาชิกเครือข่ายเป็นประจำ (อย่างน้อย 2 เดือน / ครั้ง) 2.ปัญหาการพัฒนาเครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดกำแพงเพชร ด้านการประสานสนับสนุนแหล่งทุนแก่สมาชิกเครือข่าย พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. / เทศบาล / อบจ. ไม่ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่สมาชิก ด้านการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มที่เป็นสมาชิก พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การขอการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานต่าง ๆ มีความยาก และมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ด้านการสนับสนุนการเพิ่มช่องทางการตลาดแก่กลุ่มที่เป็นสมาชิก พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสมาชิกไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของตลาดได้ ด้านการสนับสนุน แนะนำ และช่วยเหลือการยกระดับกลุ่มสมาชิกสู่มาตรฐาน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กลุ่มสมาชิกขาดความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการส่งเสริมให้สมาชิกเครือข่ายดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กลุ่มสมาชิกไม่เข้าร่วมการประชุมอย่างสม่ำเสมอ และกลุ่มสมาชิกไม่ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนรายปีของกลุ่ม 3.กลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดกำแพงเพชร 3.1 ด้านการประสานสนับสนุนแหล่งทุนแก่สมาชิกเครือข่าย ประกอบด้วย 1) จัดทำระบบข้อมูลข่าวสารด้านแหล่งทุน 2) จัดทำข้อมูลความต้องการด้านแหล่งทุนของกลุ่มสมาชิก 3) ประสานหน่วยงานราชการที่เป็นกลไกการขับเคลื่อนของจังหวัด 4) จัดกิจกรรมพบปะแหล่งทุนระหว่างกลุ่มสมาชิกกับแหล่งทุน 5) ส่งเสริมให้มีการร่วมลงทุน 6) พัฒนาและให้ความรู้ด้านการบริหารการเงินแก่กลุ่มสมาชิก 7) จัดตั้งกองทุนหรือจัดหาแหล่งทุนที่ต้นทุนต่ำ 3.2 ด้านการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มที่เป็นสมาชิก ประกอบด้วย 1) การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้า ตามประเภทผลิตภัณฑ์แบบเจาะจง 2) ประสานหน่วยงาน องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนกลุ่มสมาชิกเป็นรายผลิตภัณฑ์แบบเจาะจง 3) สรรหา คัดเลือก แต่งตั้งผู้มีความเชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาของเครือข่ายฯ 4) จัดการประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจแก่กลุ่มสมาชิกเกี่ยวกับการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ 3.3 ด้านการสนับสนุนการเพิ่มช่องทางการตลาดแก่กลุ่มที่เป็นสมาชิก ประกอบด้วย 1) พัฒนาและให้ความรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการัดทำแผนธุรกิจ ทั้งในระดับกลุ่มสมาชิกเครือข่ายระดับอำเภอ จนถึงเครือข่ายระดับจังหวัด 2) การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าของสมาชิกเครือข่าย 3) นำสินค้าของกลุ่มสมาชิกเข้าร่วมในการแสดงสินค้าในระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด 3.4 ด้านการสนับสนุน แนะนำ และช่วยเหลือการยกระดับกลุ่มสมาชิกสู่มาตรฐาน ประกอบด้วย 1) ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ 2) ส่งเสริมการถอดบทเรียนเพื่อนำองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ 3) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) จัดตั้งทีมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อคอยดูแล แนะนำ สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มสมาชิกเป็นรายผลิตภัณฑ์แบบเจาะจง 3.5 ด้านการส่งเสริมให้สมาชิกเครือข่ายดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1) สร้างความเข้าใจแก่สมาชิกเครือข่ายเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการเครือข่าย กลไกการดำเนินงานเครือข่ายให้มีความเข้าใจที่ชัดเจน 2) การกำหนดรูปแบบ หรือวางระบบการบริหารจัดการเครือข่ายที่มีความชัดเจน 3) สร้างระบบการตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงาน 4) จัดกิจกรรมการประชุมแลกเปลี่ยนในรูปแบบใหม่ ๆ 5) พัฒนาและเพิ่มจำนวนสมาชิกเครือข่ายหรือผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีคุณภาพ

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf