Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190915214736

ชื่อเรื่อง

การออกแบบและพัฒนาวัสดุเชิงประกอบของไคโตซานและซิงค์ออกไซด์ เพื่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในบรรจุภัณฑ์ฉลาด

ชื่อเรื่องรอง

Design and Development of Chitosan and ZnO Composite for Antibacterial Properties in Active Packaging

ผู้แต่ง

สุรเชษฐ์ ตุ้มมี

ปี

2559

หัวเรื่อง

การออกแบบและพัฒนา

การสังเคราะห์

บรรจุภัณฑ์ฉลาด

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=436624

การเตรียมอนุภาคซิงค์ออกไซด์จากการสังเคราะห์ โดยใช้โพลิไวนิลไพโรลิโดน (Polyvinylpyrrolidone : PVP) ในการสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ซึ่งทาหน้าที่เป็นสารคงตัวเพื่อควบคุมขนาดและรูปร่าง จากผลของเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (X-Ray Diffraction : XRD) แสดงให้เห็นว่าซิงค์ออกไซด์ที่ได้จากการสังเคราะห์มีขนาดของผลึกประมาณ 49 นาโนเมตร ส่วนผลจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope : SEM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope : TEM) ได้บอกถึงโครงสร้างที่เป็นเฮกซะโกนอล (Hexagonal) ของซิงค์ออกไซด์ จากการสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ในการใช้อนุภาคคอลลอยด์ซิงค์ออกไซด์ที่ได้ผสมกับไคโตซานที่ทาหน้าที่เป็นเนื้อสาร (เมทริกซ์) ในรูปแบบวัสดุผสม (คอมโพสิต) โดยซิงค์ออกไซค์มีการกระจายตัวแบบไอแลนด์ในไคโตซานที่เป็นโครงสร้างหลัก ทาให้ต้องมีการตรวจสอบสมบัติทางความร้อนและพฤติกรรมการบวมตัวของคอมโพสิตที่ได้ ในการใช้ซิงค์ออกไซค์ผสมกับไคโตซานเมทริกซ์แสดงให้เห็นว่าเป็นตัวเลือกที่ดีในการนาไปทาเป็นบรรจุภัณฑ์ฉลาด