Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20240930133306

ชื่อเรื่อง

แนวทางพัฒนาการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก

ชื่อเรื่องรอง

The Guideline Development for the Management of Burmese Language Curriculum in Educational Institutions under Tak Secondary Educational Service Area Office

ผู้แต่ง

จริญา บุญมา

ปี

2567

หัวเรื่อง

หลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา

ภาษาเมียนมา

การบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตร

การบริหารหลักสูตร

หลักสูตรภาษาเมียนมา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา (2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา และ (3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก กลุ'มตัวอย'างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 11 โรงเรียน และครูกลุ่มสาระภาษาต'างประเทศ จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส'วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .83 แบบสอบถามเลือกตอบมากกว'า 1 และแบบสัมภาษณ6แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่า t-test การหาค'าความแปรปรวนทางเดียว F-test (One Way ANOVA) ค่าร้อยละ (

) การวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ (f) และจัดลำดับความสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู'ในระดับมาก ด้านที่มีสภาพการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรมากที่สุด ได้แก่ ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ (2) ปัญหาการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา ด้านที่มีปัญหามากที่สุด ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของการบริหารหลักสูตร (3) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และประสบการณ์ทำงาน ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ (4) แนวทางพัฒนาการบริหารงานด้านการบริหารหลักสูตรภาษาเมียนมาในสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมในการใช้หลักสูตร อีกทั้งผู้บริหารสถานศึกษาควรส'งเสริม ร่วมมือกับครูในการนำเอาหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยต้องมีการวางแผนการ จัดทำคู่มือ และการประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร บริหารหลักสูตร นำข้อมูลย้อนกลับ และผลการประเมินนั้นมาใช้ประกอบการตัดสินใจ มาปรับปรุง และพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T68-71.pdf