Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20231025092827

ชื่อเรื่อง

การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชุมชนในพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร

ผู้แต่ง

อิสสราพร กล่อมกล่ำนุ่ม และคณะ

ปี

2562

หัวเรื่อง

การพัฒนาคุณภาพชีวิต

คุณภาพชีวิต

ผู้สูงอายุ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของชุมชนในพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชรใน 8 พื้นที่ ประกอบด้วย (1) ตําบลท่าขุนราม อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร (2) เทศบาลตําบลนิคมทุ่งโพธ์ทะเล อําเภอเมืองจังหวัดกําแพงเพชร (3) ตําบลสระแก้ว อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร (4) ตําบลระหาน อําเภอบึงสามัคคี จังหวัดกําแพงเพชร (5) ตําบลคลองลานพัฒนา อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร (6) ตําบลโปร่งน้ําร้อน อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร (7) ตําบลคีรีราษฎร์ อําเภอพบพระ จังหวัดตาก (8) ตําบลวังหิน อําเภอเมือง กําแพงเพชร จากจํานวนผู้สูงอายุทั้งหมดนั้นมีผู้สูงอายุที่เป็นไปตามการเจาะจงทั้งสิ้น จํานวน 11,825 คน และการเลือกกลุ่มตัวอย่างนั้นจะขึ้นอยู่กับกระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยจะเลือกเก็บข้อมูลเพิ่มเติมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุด้วยความสมัครใจจาก 2 กลุ่มในการประชุมเชิงปฏิบัติการใน 2 ครั้ง ในแต่ละพื้นที่ จะมีผู้ให้ข้อมูลแต่ละพื้นที่ รวม 50 คน แบ่งการศึกษาดังนี้ ครั้งที่ 1 จะประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 1)หน่วยงานท้องถิ่นและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ประกอบด้วย กลุ่มผู้นําชุมชน อสม. สาธารณสุข และกองสวัสดิการชุมชนที่ทําหน้าที่แจกเบี้ยผู้สูงอายุ รวมถึงโรงเรียนผู้สูงอายุ จํานวน 20 คน ทั้ง 8 พื้นที่ และประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่ม ครั้งที่ 2) ผู้สูงอายุที่ยินดีให้ข้อมูลและมาเข้าร่วมกิจกรรมในการประชุมเชิงปฏิบัติการจํานวน 30 คน ทั้ง 8 พื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุการพัฒนาคุณภาพชีวิตของส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในพื้นที่มีการพัฒนาต่อยอดอาชีพที่มีอยู่ตั้งแต่ดั้งเดิม ได้แก่ การทอผ้าของชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าลีซอ การถนอมอาหารแบบชาวเขา การทําตุ๊กตาจากกะลามะพร้าว นอกจากนี้ยังได้รับการฝึกอาชีพจากหน่วยงานภายนอก เช่น การอบรมการสานตะกร้าจากกรมแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นต้น คุณภาพชีวิตด้านสังคมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการงบประมาณในการช่วยเหลือด้านการรักษาตัว ต้องการสวัสดิการให้มีการประสานงานกันระหว่างโรงพยาบาลภายในพื้นที่สําหรับการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาตัวยังโรงพยาบาลประจําจังหวัด ด้านที่อยู่อาศัยพบว่าความต้องการของผู้สูงอายุไร้บ้าน การปรับปรุงซ่อมแซมบ้านสําหรับผู้สูงอายุที่ขาดแคลนยังไม่ทั่วถึงและขาดความต่อเนื่องจากการประสานงานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภายในจังหวัด 2. ปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า (1) ปัญหาขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนจากภายนอก (2) ขาดการส่งเสริมอาชีพที่เป็นรูปธรรม (3) ยังขาดหลักสูตรการเรียนและโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ (4) มีปัญหาเรื่องการฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ (5) ปัญหาเรื่องระบบการบริหารจัดการสวัสดิการกองทุนผู้สูงอายุ โดยเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์กับชุมชนและสังคม(6) ปัญหาเรื่องการขาดการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนผู้สูงอายุที่หลากหลายและขาดผู้ที่แนะนํา อย่างเช่นเรื่องการส่งเสริมสภาพจิตใจ (7) ปัญหาเรื่องการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของผู้ที่ติดเตียงเนื่องจากจากสภาพที่อยู่อาศัยมีความทรุดโทรม 3. ความต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า(1) ต้องการส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุในทุกกลุ่มอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้ในการเลี้ยงตนเอง (2) ต้องการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์สําหรับผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม (3) ต้องการสร้างเครือข่ายของผู้สูงอายุกับพื้นที่อื่นที่มีความเข้มแข็งเรื่องการจัดการกลุ่มผู้สูงอายุ (4) ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุที่มีในหมู่บ้านให้คงไว้ เช่นบทร้องเพลงในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สมัยก่อน ประเพณีอีสานในสมัยก่อนอยากให้คงอยู่ การทอเสือ และพิธีงานบวชในสมัยก่อน (5) ต้องการการส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าที่ทําจากผู้สูงอายุในชุมชน(6) ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ที่ผู้สูงอายุได้ทําในชุมชนเกิดการแปรรูปจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่แนะนําสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (7) ต้องการผู้เชี่ยวชาญแนะนําการหาจุดขายของสินค้าที่ผู้สูงอายุ(8) ต้องการการส่งเสริมการกระจายสินค้าจากชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุ (9) ต้องการสร้างเพจ หรือเวปไซต์ เพื่อส่งเสริมการขายของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน(10) ต้องการให้มีโรงเรียนผู้สูงอายุ4.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า(1) ปัจจัยด้านทรัพยากรที่สนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้ดําเนินหรือจัดกิจกรรมได้ในมชน (2) ปัจจัยด้านความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้สึกถึงคุณภาพชีวิตที่ดี (3) ปัจจัยด้านงบประมาณ ทั้งในภาครัฐและเอกชนและการให้ความร่วมมือ

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

R67-23.pdf