Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20210427121748

ชื่อเรื่อง

การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตของโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 40

ชื่อเรื่องรอง

The evaluation of the living library project of Sruthep Prachasan School under the phetchabun secondary educational service area office 40

ผู้แต่ง

กุสุมา กรองทิพย์

ปี

2563

หัวเรื่อง

การประเมินโครงการ

โครงการห้องสมุดมีชีวิต

การบริหารการศึกษา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตของโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 40 โดยประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ และเพื่อหาแนวทางพัฒนาโครงการห้องสมุดมีชีวิตของโรงเรียนศรีเทพประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 40 แหล่งข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น337 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน และครูผู้สอนรวม จำนวน 49 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน

ผลการวิจัยพบว่า
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนา เข้าของโครงการสรุปโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านทรัพยากรสารสนเทศ และด้านสถานที่ ตามลำดับ ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดา เนินงานของโครงการสรุปโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้าน D = Do (ปฏิบัติ) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ผ่านเกณฑ์ทุกข้อผลการประเมินความเหมาะสมด้านผลผลิตของโครงการสรุปโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ได้แก่ นักเรียนรู้จักใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ในการ
ค้นคว้าหาข้อมูล และได้รับประโยชน์กับการใช้ห้องสมุด รองลงมาคือนักเรียนได้รับความรู้และประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ และนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะการคิด และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ
2. แนวทางพัฒนาการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 แนวทางการพัฒนาด้านปัจจัยเบื้องต้น สรุปได้ดังนี้ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ด้านบุคลากรดา เนินงาน ได้แก่ ควรพัฒนาครูให้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ และสามารถดำเนินโครงการ ให้บรรลุเป้าหมาย ด้านทรัพยากรสารสนเทศ การพัฒนาให้มีวัสดุ อุปกรณ์ให้มีความสอดคล้องและเพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรม ด้านสถานที่วิเคราะห์ความพร้อมของโรงเรียนด้านอาคารสถานที่เพื่อออกแบบกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม แนวทางการพัฒนาโครงการได้แก่ ด้าน P=Plan (วางแผน) ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบและจัดทา โครงสร้างบุคลากร ด้าน D = Do (ปฏิบัติ) มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่าน ด้าน C = Check(ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) จัดทำแผนบูรณาการการใช้ห้องสมุด ด้าน A = Action (ปรับปรุงแก้ไข) ประเมินผลการเรียนรู้เน้นการตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนำเสนอผลงานที่ประสบผลสำเร็จและมีการจัดทำรายงานผลการเรียนรู้ของนักเรียน

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T64002.pdf