Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20191114125609

ชื่อเรื่อง

ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการนาหญ้าและพัฒนาอาชีพผลิตเสบียงสัตว์เพื่อจำหน่าย

ชื่อเรื่องรอง

Farmers, Satisfaction with Grass Field and Animal Feed For Sale Occupation Development Project

ผู้แต่ง

วชิระ เลี่ยมแก้ว

ศศิธร เมธาวิวัฒน์

ปี

2551

หัวเรื่อง

นาหญ้า

เกษตรกร - ความพึงพอใจ

เสบียงสัตว์ - การพัฒนา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึง (1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนาหญ้าและผลิตเสบียงสัตว์เพื่อจาหน่าย (2) ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการนาหญ้าและพัฒนาอาชีพผลิตเสบียงสัตว์เพื่อจาหน่าย และ (3) ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และข้อเสนอแนะ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเกษตรกรอาเภอไทรงาม จังหวัดกาแพงเพชร จานวน 39 คน การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้นามาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Science: SPSS/PC+)
ผลจากการวิจัยพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.06 ปี ทั้งหมดจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน อาชีพหลักทานา และอาชีพรองทานาหญ้า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการถือครองที่ดินโดยเช่าบางส่วน และเป็นที่ของตนเองบางส่วน รายได้ของครอบครัวมาจากการจาหน่ายผลผลิตพืช เกษตรกรรมอื่นๆ และรายได้นอกภาคเกษตรกรรม ส่วนใหญ่ของเกษตรกรเกือบทั้งหมด มีภาระหนี้สินกับสถาบันการเงิน
ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อโครงการนาหญ้าและพัฒนาอาชีพผลิตเสบียงสัตว์เพื่อจาหน่าย ซึ่งประเมินใน 3 ประเด็น คือ ความพึงพอใจต่อการได้รับการอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการจากเจ้าหน้าที่ การได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต และผลผลิตพืชอาหารสัตว์ตามโครงการ พบว่า ความพึงพอใจภาพรวมของโครงการอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นการได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต
และผลผลิตพืชอาหารสัตว์ตามโครงการ เกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ในขณะที่ประเด็นการได้รับการอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการจากเจ้าหน้าที่ เกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมาก
ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกร คือ โรงเก็บหญ้ามีขนาดเล็ก เครื่องมือไม่เพียงพอ น้ามันมีราคาแพง น้าท่วมพื้นที่ และเครื่องจักรกลไม่ทันสมัย
ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ การจัดหาตลาด การลดต้นทุนการผลิต การสนับสนุนเครื่อง
จักรกลที่ทันสมัย การสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรที่ทานาหญ้า การสนับสนุนเรื่องปุ๋ย และการจัดหาแหล่งเงินกู้

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

20191114125609.pdf