Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191011145924

ชื่อเรื่อง

การศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนารูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีโยธาในตำบลธำมรงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

The study of problems and the development of prevention models for the bank erosion by integration of local wisdom and constructionsl technology in thammarong sub-district, muang district, Kamphaeng phet province.

ผู้แต่ง

ปณชัย พลยงค์

ปี

2554

หัวเรื่อง

การป้องกันการพังทลายของตลิ่ง

เทคโนโลยีโยธา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของรูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบลธำมรงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีโยธา 3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งที่ใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีโยธา และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้นำชุมชนที่มีต่อรูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีโยธา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของรูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าข้อที่มีปัญหามากที่สุดได้แก่ รูปแบบวิธีการป้องกันที่ไม่คงทนถาวร งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดแคลนเทคโนโลยีที่เหมาะสม 2. รูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีโยธาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมคือใช้กระสอบคอนกรีตมาวางซ้อนกันเป็นขั้นบันได ซึ่งประหยัดและมีความแข็งแรงไม่ต่างจากรูปแบบวิธีอื่น เป็นการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีโยธาได้เป็นอย่างดี 3. ประสิทธิภาพของรูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่งที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีโยธาพบว่า มีโครงสร้างที่แน่นหนา ไม่พังทลายเมื่อถูกกระแสน้ำกัดเซาะ ช่วยลดการปะทะโดยตรงของกระแสน้ำ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวจะมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับก้อนหินก้อนใหญ่ 4. ความพึงพอใจของผู้นำชุมชนที่มีต่อรูปแบบวิธีการป้องกันการพังทลายของตลิ่ง ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีโยธาพบว่า มีความพึงพอใจต่อวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่หาได้ในท้องถิ่นซึ่งช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย มีโครงสร้างที่แน่นหนาไม่พังทลายเมื่อถูกกระแสน้ำกัดเซาะไม่ต้องหมั่นดูแลป้องกันชายตลิ่งดังแต่ก่อน

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf