Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190915223130

ชื่อเรื่อง

ความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอำเภอเมืองและอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

Diversity of local rice varieties in Muang and Sai Ngam districts, Kamphaeng Phet province

ผู้แต่ง

มณฑา หมีไพรพฤกษ์

สุภาพร พงษ์ภิญโญโอภาส

สุณี บุญพิทักษ์

วสุนธรา รตโนภาส

สุเทพ เจิงกลิ่นจันทร์

ปี

2558

หัวเรื่อง

พันธุ์ข้าวพื้นเมือง

ข้่าว

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้าว - การขยายพันธุ์

ความหลากหลาย

แม่โพสพ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=436461

การศึกษาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในอาเภอเมือง และอาเภอไทรงาม จังหวัดกาแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง 2) ทาแผนที่แหล่งปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและพิกัด GPS 3) ข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอาเภอเมือง และอาเภอไทรงาม จังหวัดกาแพงเพชร ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และสัมภาษณ์ข้อมูล เชิงลึก (In-depth Interview) กับชาวนาที่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง เขตอาเภอเมือง และอาเภอไทรงาม จานวน 15 ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และเขียนสรุปบรรยาย (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ในอาเภอเมืองและอาเภอไทรงาม จังหวัดกาแพงเพชร พบข้าวพันธุ์พื้นเมือง 10 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็นข้าวเจ้า 7 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์หอมมะลิแดง พันธุ์ขาวกอเดียว พันธุ์ขาวตาเคลือบ พันธุ์หลวงประทาน พันธุ์โสมาลี พันธุ์หอมสุรินทร์ พันธุ์หอมนิล และข้าวเหนียว 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สันป่าตอง พันธุ์เหลืองน้อย และพันธุ์ข้าวเหนียวดา การวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนที่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่าแหล่งปลูกข้าวพื้นเมืองที่พิกัด ที่ 5 ปลูกข้าวสันป่าตอง และพิกัดที่ 6 ปลูกข้าว หอมสุรินทร์ที่ตาบลหนองปลิง อาเภอเมือง จังหวัดกาแพงเพชร มีชุดดิน 49 ซึ่งไม่เหมาะสมกับในการปลูกข้าว เนื่องจากเป็นดินตื้นถึงลูกรังหรือชั้นเชื่อมแข็งของลูกรัง การระบายน้าดีถึงดีปานกลาง เสี่ยงต่อการขาดน้ามาก และข้อมูลจากสานักงานฟื้นฟูที่ดินแห่งสหรัฐอเมริกา (USBR) พบว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมการปลูกข้าวระดับมาก ข้อมูลทางเศรษฐกิจไม่ชัดเจนเนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปลูกไว้กินเองที่เหลือแบ่งออกขายและบางส่วนปลูกเพื่อสะสมพันธุ์ ผลการวิจัย พบว่าชาวนามีความเชื่อและศรัทธาในแม่โพสพว่า คือ จิตวิญญาณที่ผูกพันอยู่ในต้นข้าว และเป็นผู้ดูแลคุ้มครองให้ต้นข้าวเจริญงอกงามให้ผลผลิตที่ดีสมบูรณ์ และจะดูแลทุกคนในครอบครัวให้มีความสุขเจริญรุ่งเรือง โดยประเพณีที่ทา แบ่งออกเป็นช่วงระยะการปฏิบัติได้เป็นสามช่วง ระยะแรก ข้าวออกรวง เรียกว่าข้าวตั้งท้อง หรือแม่โพสพตั้งท้องช่วงระยะที่สองเป็นช่วงระยะเก็บเกี่ยวนาและกลับไปเข้ายุ้งฉาง และช่วงระยะสุดท้ายนาออกจากยุ้งฉางมาสีเป็นข้าวสารรับประทาน ทั้งสามช่วงระยะดังกล่าวนี้แต่ละชุมชน และหมู่บ้านอาจมีรายละเอียดของพิธีกรรมแตกต่างกันไปบ้างหรือใช้คาว่า “เรียกขวัญ” เมื่อข้าวออกรวง หรือตั้งท้อง ส่วน “รับขวัญ” ทาเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวนากลับมาบ้าน เก็บในยุ้งฉาง การกล่าวเรียกแม่โพสพจะเป็นคาพูดร้อยเรียงธรรมดา หรือเป็นบทกลอนที่มีความคล้องจองกัน ส่วนสิ่งของ และอาหารที่ใช้ในแต่ละชุมชน และหมู่บ้าน จะมีความคล้ายคลึงกัน เรียกขวัญข้าวก็จะใช้ของเปรี้ยว เหมือนที่หญิงท้องชอบรับประทาน เช่น มะยม ส้มตา หรืออื่นๆ เช่น หมาก พลู ข้าว เผือก ใส่มัน กล้วย ขนมหวาน 3 สี ขนมชั้น ถ้วยฟู ขนมต้ม ความเชื่อของชาวนาบางคน มีพิธีกรรมตั้งแต่เริ่มเกี่ยวข้าว ไหว้เจ้าที่เจ้าทางใช้หัวหมู น้าจันทร์ (แม่โขง) น้าส้ม ไก่ต้ม เหล้าขาว เผือก มัน ไข่ไก่ และธูป เทียนคู่ ส่วนรับขวัญข้าวจะเป็นอาหาร หรือขนมที่พอหาได้ หรือเป็นขนมที่ใช้ ในงานบุญ เช่น ขนมต้มขาวต้มแดง ข้าวหลาม ข้าวไข่ปากหม้อ (ข้าวสวย ไข่ต้ม) และสิ่งของอื่นๆ เช่น ปลาตะเพียน 6 ตัว ในบางพื้นที่การเอาข้าวเข้ายุ้ง จะเอาใบคูณ ใบยอ ใบอีเหนียว เอาไปเหน็บตามยุ้ง 4 มุม ซึ่งมีความเชื่อว่าไม่ให้แม่โพสพหนี