Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20231027102330

ชื่อเรื่อง

ประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้: กลุ่มเกษตรกรของกรมฝนหลวง และการบินเกษตร

ชื่อเรื่องรอง

The Effectiveness of Public Relations to Perception among Farmers of the Royal Rainmaking Department and Agricultural Aviation

ผู้แต่ง

กนกกาญจน์ จันทร์เกิด

ปี

2562

หัวเรื่อง

การประชาสัมพันธ์

การรับรู้

เกษตรกร

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การศึกษาเรื่อง “ประสิทธิผลของการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้กับกลุ่มเกษตรกรของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร” ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mix-Method Research) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษานโยบาย และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (2) เพื่อศึกษาอุปสรรคในการด าเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารกับการร่วมกิจกรรม หรือโครงการกรมฝนหลวงและการบินเกษตรของเกษตรกร (4)เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในสายตาเกษตรกร ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเพื่อทดสอบความแตกต่างได้แก่ t-test (Independent t-test), F-test (One way Analysis of Variance) และทดสอบความสัมพันธ์โดยสถิติ Pearson Correlation Coefficient ร่วมกับวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการผลการศึกษา นโยบายการประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พบว่า สามารถสร้างการรับรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ถึงเกษตรกรได้ความเข้าใจถูกต้อง และเกิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พบว่า ควรทำงานเชิงรุกและประชาสัมพันธ์เชิงรุกโดยทำงานร่วมกันทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการด้วยการใช้สื่อและเนื อหาข้อมูลขับเคลื่อนข้อมูลข่าวสารได้ถูกที่ถูกเวลาและตรงกลุ่มเป้าหมายที่บรรลุนโยบาย อุปสรรคในการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร พบว่า มี 4 ประการคือ 1) บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในงานประชาสัมพันธ์ 2) ขาดความเชี่ยวชาญ และมีการโอนย้าย ขาดความต่อเนื่องในปฏิบัติงาน 3) ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่เอื อต่อการทำงาน 4) เกษตรกรเข้าถึงเนื อหาข้อมูลได้ยากทำให้การรับรู้อาจเข้าใจผิดได้ พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารกรมฝนหลวงและการบินเกษตรของเกษตรกร พบว่า ภาพรวมมีการเปิดรับสื่อในระดับปานกลาง ซึ่งสื่อโทรทัศน์และกลุ่มไลน์นั นเปิดรับมากที่สุด ขณะที่สื่อบุคคล (เจ้าหน้าที่) เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และวิทยุยังถือเป็นอีกช่องทางที่เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารกับการรับรู้ เข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการกรมฝนหลวงและการบินเกษตรของเกษตรกร พบว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง เกษตรกรรับรู้และเข้าร่วมกิจกรรมของหน่วยงานได้ แต่มักเปิดรับข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ส่วนภาพลักษณ์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในสายตาเกษตรกรเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเกษตรกร โดยตอบสนองเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งด้านภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรได้สม่ำเสมอสร้างความประทับใจต่อเกษตรกรได้ด

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

A67-35.pdf