Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20191118142159

ชื่อเรื่อง

การศึกษารำมังคละในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

ชื่อเรื่องรอง

Study of Mangkla Dance in Pichai, Uttaradit Province

ผู้แต่ง

กณิจฐิมญศ์ ลิมปนารมณ์

บัญชา ศรชัย

ณัฐพัชร์ มหายศนันท์

พสิษฐ์สุธา มหายศนันท์

ธีระพงษ์ ทัพอาจ

อุษณีย์ เขนยทิพย์

ปี

2561

หัวเรื่อง

วงมังคละ

รำมังคละ

พื้นบ้านพื้นเมือง

บ้านกอง

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การศึกษาเรื่องรำมังคละในเขตอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมท่ารำมังคละที่ปรากฏในปัจจุบัน และวิเคราะห์ท่ารำมังคละ จำแนกตามองค์ประกอบของการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอผลการวิเคราะห์แบบความเรียงเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจุบันอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวงดนตรีมังคละ 1 วง ใช้เฉพาะงานมงคลไม่มีบทร้อง ได้แก่วงดนตรีมังคละพื้นบ้านกองโค ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เพลงที่ใช้บรรเลงคือเพลงไม้หนึ่ง ไม้สอง ไม้สาม ไม้สี่ ไม้ห้า ไม้หก และเพลงไม้เจ็ด แต่ที่นิยมคือเพลงไม้สี่ ไม้ห้า ไม้หกและเพลงไม้เจ็ด เครื่องดนตรีประกอบด้วยกลองมังคละ กลองยืน กลองหลอน ปี่ชวา ฉิ่ง ฉาบยืน ฉาบหลอน กรับ และฆ้อง 3 ใบ พร้อมคานหามจำนวน 1 ชุด นักดนตรีสวมใส่เสื้อคอกลมลายดอก นุ่งโจงกระเบนสีพื้นหรือกางเกงม่อฮ่อมหรือกางเกงสมัยนิยม ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ผู้รำเป็นหญิงสวมเสื้อลายดอกแขนสั้นหรือเสื้อแขนกระบอก ใช้ผ้าแถบพาดเฉียงบ่าซ้าย นุ่งโจงกระเบนสำเร็จรูปหรือนุ่งผ้าซิ่นยาวคลุมเข่า คาดเข็มขัดและสวมใส่เครื่องประดับตามความชื่นชอบของผู้แสดง ใช้ดอกไม้สดหรือแห้งทัดไว้ที่หูด้านซ้าย และสวมถุงเท้าสีขาว ท่ารำมังคละที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบของวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย จำนวน 13 ท่า อีก 3 ท่าปรับปรุงโดยนายถนัดกิจ ขวัญแก้ว และอีก 1 ท่านำมาจากการแสดงซันตูจ รวมทั้งสิ้น จำนวน 17 ท่า รูปแบบแถวในการแสดง 6 รูปแบบ และรูปแบบแถวสำหรับนำขบวนแห่ 1 รูปแบบ รวมทั้งสิ้น 7 รูปแบบ นักดนตรีและนางรำเป็นกลุ่มผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคอรุม ไม่พบว่ามีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

20191118142159.pdf