Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20191118111356

ชื่อเรื่อง

การพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านโพธิ์พัฒนา ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

Developing Activities for Development the Life Quality of the Elderly based on the Principles of Sufficiency Economy in Khonthee Subdistrict, Amphur

ผู้แต่ง

ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร

วีรวรรณ แจ้งโม้

นงลักษณ์ จิ๋วจู

ประพัสสร บัวเผื่อน

ชูเกียรติ เนื้อไม้

ปี

2561

หัวเรื่อง

คุณภาพชีวิต

ผู้สูงอายุ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2. พัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3. ทดลองใช้กิจกรรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4. ประเมินกิจกรรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มเป้าหมายคือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโพธิ์พัฒนา จำนวนทั้งสิ้น 45 คน โดยการคัดเลือกตัวแทนผู้สูงอายุร่วมกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านโพธิ์พัฒนา จำนวน 30 คน ตามความสนใจและสมัครใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในหมู่บ้านโพธิ์พัฒนา ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง มีการรักษาพยาบาลความตามจำเป็นของร่างกายโดยมีลูกหลาน ญาติพี่น้องเป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งสะท้อนถึงความคาดหวังในบั้นปลายชีวิตของผู้สูงอายุคือ การมีลูกหลานเลี้ยงดูและคอยดูแลเอาใจใส่ แต่สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากที่สุดคือ แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุมาจากเบี้ยผู้สูงอายุลูกหลานและมีเพียงบางส่วนที่ยังสามารถรับจ้างทำงานได้เท่านั้น 2) ผลการพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับความต้องการของชุมชนทำให้เกิดกิจกรรมทั้งหมด 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมทำลูกประคบสมุนไพร (แห้ง) กิจกรรมทำน้ำมันไพล กิจกรรมนวดตัวอย่างง่ายสำหรับผู้สูงอายุและกิจกรรมทำสบู่จากสมุนไพรในท้องถิ่น 3) และ 4) จากการทดลองใช้และประเมินกิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนมีความพึงพอใจจากการดำเนิน กิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรมเป็นอย่างมากเนื่องจากกิจกรรมทั้ง 4 อยู่บนพื้นฐานความต้องการของชุมชนและยังเป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ได้จริงในชีวิตประจำวัน (กิจกรรมนวดตัวอย่างง่าย) และสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนโดยการนำพืชสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เช่น สบู่ น้ำมันไพรสำหรับนวดตัวใช้ในครัวเรือนได้อีกด้วย

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

20191118111356.pdf