Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20191115100827

ชื่อเรื่อง

การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ชื่อเรื่องรอง

The Promotion of the Reading Habits in Secondary School by Participatory Action Research

ผู้แต่ง

มนตรี คงเจริญ

ฉลอง ชาตรูประชีวิน

ปี

2560

หัวเรื่อง

การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การวิจัยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาบริบทและปัญหาการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อดำเนินการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ขั้นศึกษาบริบทและปัญหาการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษา จากการวิเคราะห์เอกสารและการประชุมแบบไม่เป็นทางการ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 21 คน ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ การเตรียมการ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต การสะท้อนผล รวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกและการประชุมผู้เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จากการประชุมผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 ได้แก่ ผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัยและนักพัฒนา รวม 56 คน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) บริบทและปัญหาการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ในด้านครอบครัวเห็นความสำคัญและได้รับความรู้ ร่วมมือส่งเสริมนิสัยรักการอ่านกับโรงเรียน ปัญหา ได้แก่ การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมีน้อย สภาพครอบครัวไม่เอื้อต่อการอ่าน การร่วมมือขาดการติดตาม ด้านโรงเรียนมีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ปัญหา ได้แก่ ขาดการมีส่วนร่วม งบประมาณและกิจกรรมมีน้อย ด้านชุมชนและองค์กรต่างๆ มีการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในที่อ่านหนังสือในชุมชน ปัญหา ได้แก่ การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านมีน้อย ขาดทรัพยากรสารสนเทศ งบประมาณ และการร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ด้านพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน พบว่ามีต่ำกว่าเกณฑ์ 2) ผลการดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่า ขั้นเตรียมการ ได้เลือกโรงเรียนบ้านไร่พิทยาคมเป็นพื้นที่วิจัยและเตรียมผู้ร่วมวิจัยบรรลุผลตามกำหนด ขั้นวางแผน ได้กำหนดโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมสร้างเสริมความรู้และพัฒนาความร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมพัฒนาการบริการของห้องสมุดด้านสื่อเทคโนโลยีกิจกรรมพัฒนาสภาพกายภาพบรรยากาศห้องสมุดที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในชุมชน กิจกรรมติดตามพัฒนาการพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านนักเรียน ขั้นปฏิบัติ พบว่า ทุกกิจกรรมมีกระบวนการดำเนินงานตามที่กำหนด ขั้นสังเกต พบว่า ผลการดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ขั้นสะท้อนผล พบว่า ทุกกิจกรรมตอบสนองต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การปฏิบัติงานเป็นไปตามที่กำหนดและการสังเกต พบว่า ผลการดำเนินกิจกรรมบรรลุวัตถุประสงค์ 3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจของครอบครัววิสัยทัศน์และความสามารถการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนและการร่วมมือกันจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแบบทั้งองค์กร การร่วมมือของครอบครัว ชุมชนและองค์กรต่างๆ ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในชุมชน

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

20191115100827.pdf