Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190906112224

ชื่อเรื่อง

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

Product Development of Teas with antioxidant from Local Plants in Kampheang Phet Provice.

ผู้แต่ง

ขวัญดาว แจ่มแจ้ง

ปี

2557

หัวเรื่อง

อนุมูลอิสระ

ชา - การแปรรูป

สารต้านอนุมูลอิสระ

ผักพื้นบ้าน - การแปรรูป

ชาใบหม่อน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีการผลิตชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ยอดขนุน ผักปลัง ยอดฟักข้าว ผักอีซึก และ ผักอีนูน โดยศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร ด้วยวิธี DPPH assay แล้วนำไปแปรรูปเป็นชาด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบชาฝรั่ง ชาจีน และ ชาเขียว หลังจากนั้นนำไปศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระทั้งก่อนชงและหลังชง ศึกษาค่าสี ปริมาณความชื้น และระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการแปรรูป ยอดขนุน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดคือ 81.17

เมื่อแปรรูปแล้ว พบว่า ก่อนชง ชายอดขนุนที่ผลิตแบบชาฝรั่ง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดคือ 78.30

หลังชง ชายอดขนุนที่ผลิตแบบชาฝรั่ง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดคือ 79.56

เมื่อเทียบกับ BHA พบว่า BHA มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทุกชนิด คือ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 95.48

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของชาทุกชนิดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชผักก่อนนำมาแปรรูป ผลการศึกษาคุณภาพค่าสี พบว่า โดยภาพรวมชาต้านอนุมูลอิสระมีค่าความสว่างต่ำและมีแนวโน้มสีไปทางสีเขียว-น้ำเงิน ผลการศึกษาปริมาณความชื้น พบว่า ชาส่วนใหญ่มีความชื้นเกิน 8

ยกเว้นชาผักอีนูนที่ผลิตแบบชาจีน ผลการศึกษาระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ทั้งด้านสี กลิ่น และรสชาติ พบว่า โดยรวมผู้ชิมให้การยอมรับชาผักอีซึกที่ผลิตแบบชาเขียวมากกว่าชาชนิดอื่น

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf