Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191018144912

ชื่อเรื่อง

แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้าน บ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

Guidelines of sufficiency economy movement in bannamdib Tambon Nongpling, Amphur Maungkamphaeng phet, Kamphaeng phet province.

ผู้แต่ง

ไสว เจริญศรี

ปี

2551

หัวเรื่อง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง - การพัฒนา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านต้นแบบบ้านหนองกระทุ่ม ตำบลหัวถนน อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 3) เพื่อหาแนวทาง การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้าน บ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนในบ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จำนวน 103 คน และผู้นำหมู่บ้าน กรรมการกองทุนผู้แทนกลุ่มอาชีพ กลุ่มเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ รวม 20 คน โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำหมู่บ้านกรรมการหมู่บ้าน บ้านหนองกระทุ่ม ตำบลหัวถนน อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และผู้นำหมู่บ้าน กรรมการกองทุน ผู้แทนกลุ่มอาชีพ กลุ่มเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ บ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยการศึกษาดูงานและการสนทนากลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ ข้อ 3 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำหมู่บ้าน กรรมการกองทุน ผู้แทนกลุ่มอาชีพ กลุ่มเยาวชน ชมรมผู้สูงอายุ และราษฎรบ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร พัฒนากรประจำตำบลหนองปลิง เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง เกษตรประจำตำบลหนองปลิง เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกำแพงเพชร รวมจำนวน 30 คน โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการศึกษาวิจัย 1.สภาพและปัญหาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สภาพการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 6 ด้าน พบว่า 1) ด้านการลดรายจ่าย มีการปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง มีการผลิตของใช้บางประเภทในครัวเรือน 2) ด้านการเพิ่มรายได้ มีการพัฒนาของอาชีพการเกษตรกรรม โดยการจัดหาพันธุ์พืชที่มีคุณภาพดี การรับจ้างในยามว่างและการหาของป่าเพื่อจำหน่ายตามฤดูกาล 3) ด้านการออม มีการออมเงินกับกลุ่มออมทรัพย์ การฝากเงินกับธนาคาร และการทำประกันชีวิต 4) ด้านการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีกิจกรรมรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีดั้งเดิมอย่างสม่ำเสมอ มีการตั้งมาตรการเพิ่มเติมด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด มีการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ 5) ด้านการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง มีการกำจัดขยะ โดยการนำไปทิ้งในป่าและการเผา มีการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่าง ๆ 6) ด้านการเอื้ออาทร (การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน) มีการเอาแรงกันในลักษณะการลงแขกช่วยเหลือกันโดยมีการเลี้ยงสุรา อาหารเป็นการตอบแทน มีการจัดสวัสดิการช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้าน มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมแข่งกีฬา ปัญหาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1 ) ด้านการลดรายจ่าย คือ มีปัญหาค่านิยมที่ผิดและพฤติกรรมเลียนแบบ มีปัญหาต้นทุนในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมสูง มีปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ 2) ด้านการเพิ่มรายได้ มีรายได้ไม่เพียงพอ มีปัญหาแหล่งน้ำไม่เพียงพอ ไม่มีลานตากมันและเครื่องฝานหัวมัน ไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งอาชีพเสริม 3) ด้านการออม คือ มีเงินออมน้อยและมีหนี้สินมาก 4) ด้านการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ยึดติดค่านิยมการเลี้ยงสุราในงานศพ การก่อหนี้โดยไม่จำเป็น ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ ไม่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในหมู่บ้าน 5) ด้านการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าไม่มีที่ทิ้งขยะประชาชนขาดความตระหนักในการช่วยกันดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาพดินเสื่อม 6) ด้านการเอื้ออาทร (การแบ่งปันช่วยเหลือกันและกัน) พบว่าเงินทุนสวัสดิการช่วยเหลือค่อนข้างช้าและมีจำนวนน้อย ความผูกพันระหว่างครัวเรือนเริ่มลดลง เนื่องจากมุ่งประกอบอาชีพหารายได้ 2.แนวทางการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้านบ้านน้ำดิบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ที่สำคัญมีดังนี้ 2.1 ด้านการลดรายจ่าย ได้แก่ การลดค่าสาธารณูปโภคที่เกินความจำเป็นของครัวเรือน ฝึกอบรมบุตรให้เห็นคุณค่าของเงิน ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเองและส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง 2.2 ด้านการเพิ่มรายได้ ได้แก่ การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการปลูกพืชอายุสั้น การเพิ่มมูลค่าผลผลิตในอาชีพหลัก การเก็บของใช้แล้วไว้ขาย เช่น ขวด พลาสติก แก้ว เศษเหล็ก ฯลฯ และการหาของป่าขาย เช่น เห็ด หน่อไม้ ผักจากธรรมชาติตามฤดูกาล 2.3 ด้านการออม ได้แก่ การส่งเสริมการออมเงิน โดยฝึกนิสัยการออมเงินให้แก่บุตรตั้งแต่ยังเด็ก การส่งเสริมการออมเงินเนื่องในโอกาสพิเศษ และการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ถึงประโยชน์ของการออมเงิน 2.4 ด้านการดำรงชีวิต ได้แก่ การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนควรจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย การส่งเสริมให้ครัวเรือนมีการจัดทำแผนของครัวเรือน การชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ครัวเรือน ในหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ และการรณรงค์ให้คนในครัวเรือนยึดมั่นในคุณธรรมความดีงาม 2.5 ด้านการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การแยกขยะเปียก ขยะแห้งในครัวเรือน การกำหนดให้แต่ละครัวเรือนปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน เปลี่ยนการกำจัดวัชพืชจากการใช้ยาฉีดเป็นการไถร่องมันสำปะหลัง และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภาพใช้เอง 2.6 ด้านการเอื้ออาทร (การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน) ได้แก่ กำหนดให้หัวหน้าครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน การจัดให้ครัวเรือนที่มีศักยภาพดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำครัวเรือนข้างเคียงที่ด้อยโอกาสกว่า และการกำหนด กฎกติกา เพื่อปฏิบัติร่วมกันในหมู่บ้าน

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf