Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190917202114

ชื่อเรื่อง

รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาชุมชนวังยาง

ผู้แต่ง

วิเชียร รักการ

ปี

2534

หัวเรื่อง

หมู่บ้านวังยาง - การวิจัย

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=12893

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านวังยางในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยกลุ่มที่ศึกษา คือ หัวหน้าครัวเรือน 173 คน ในจำนวนนี้รวมผู้ให้ข่าวสำคัญจำนวน 8 คน วิธีการวิจัยเป็นลักษณะการวิจัยภาคสนามที่เน้นการสัมผัสจริง โดยผู้วิจัยตัวอยู่ในชุมชนเป็นระยะเวลานานกว่า 1 ปี เก็บข้อมูลโดย 1. จดบันทึกและถ่ายภาพปรากฏการณ์ต่าง ๆ 2. สัมภาษณ์และจดบันทึกจากผู้ให้ข่าวสำคัญจำนวน 8 คน รวมทั้งสัมภาษณ์ชาวบ้านทั่ว ๆไป 3. สัมภาษณ์แบบเป็นทางการกับหัวหน้าครัวเรือน โดยผู้ช่วยวิจัยจำนวน 6 คนที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาสังคมศาสตร์ วิชาเอกพัฒนาชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มีสมุดจดบันทึกประจำวัน บันทึกการสัมภาษณ์ผู้ให้ข่าวสำคัญ กล้องถ่ายรูปและแบบสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการที่ประกอบไปด้วยคำถามเกี่ยวกับภูมิหลัง เศรษฐกิจการอาชีพ ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อถือ ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาตรวจสอบ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ และสรุปผลได้ดังนี้ ชุมชนวังยางมีศักยภาพในการปรับตัวสูงในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย จากอดีตมาสู่ปัจจุบัน กล่าวคือ ปริมาณการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับอดีตคือ ยิ่งถอยหลังไปยิ่งเปลี่ยนแปลงน้อย ยิ่งใกล้ปัจจุบันยิ่งเปลี่ยนแปลงมาก ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของชุมชนแปรผันไปตามลักษณะการหาเลี้ยงชีพ หรือระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่อลักษณะการหาเลี้ยงชีพเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมและวัฒนธรรมในชุมชนจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย และลักษณะการหาเลี้ยงชีพจะแปรผันไปตามสภาพแวดล้อมคือ เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ลักษณะการหาเลี้ยงชีพก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน กล่าวโดยสรุปก็คือ การเปลี่ยนแปลงของชุมชนวังยางเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม